กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/281
ชื่อเรื่อง: การใช้สารสนเทศของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Information use by safety officers in professional level in Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชำนาญ เชาวกีรติพงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สายวิทย์ สุธรรมวิรัตน์, 2508
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาการใช้สารสนเทศของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยใน การทำงานระดับวิชาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร (3) ศึกษาปัญหาการใช้สารสนเทศของ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร และ (4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยใน การทำางานระดับวิชาชีพ ที่ขึ้นทะเบียนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 11,645 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 406 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนตามขนาดของสถานประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบรายคู่เชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบวา ( 1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำ งานระดับวิชาชีพมีการใช้สารสนเทศ โดยรวมในระดับมาก จำแนกเป็นรายด้าน พบว่ามีการใช้สารสนเทศด้านกฎหมายและข้อบังคับและความ ปลอดภัยมากที่สุด ( X =4.23) รองลงมาเป็นการใช้สารสนเทศด้านมาตรฐานอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัย ( X =4.05) (2) เปรียบเทียบการใช้สารสนเทศของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับ วิชาชีพ จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษา และประเภทของสถานประกอบการ พบว่ามีการใช้สารสนเทศแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . 05 (3) ปัญหาการใช้สารสนเทศ โดยรวม อยู่ในระดับมาก ได้แก่ แหล่งสารสนเทศตั้งอยู่ในทำเลห่างไกล( X =3.37) เนื้อหาสารสนเทศไม่ทันสมัย ( X =3.13) ไม่มีเวลาในการค้นหาสารสนเทศ( X =3.06) (4) เปรียบเทียบปัญหาการใช้สารสนเทศ พบว่า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำ งานระดับวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีปัญหาการใช้ สารสนเทศ แตกต่างกนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านเนื้อหาสารสนเทศ ส่วนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำางานระดับวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่ต่างกันมีปัญหาการใช้สารสนเทศแตกต่างกัน ด้านแหล่งสารสนเทศ รูปแบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศ อยางมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ . 05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/281
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
152351.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons