Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/282
Title: อุปสรรคและปัจจัยเอื้ออำนวยต่อการนำผลการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องไปใช้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Barriers and facilitator factors in utilization of continuous quality improvement results by professional nurses in Community Hospitals, Nakhon Ratchasima Provinc
Authors: สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชราพร เกิดมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
วราภรณ์ วงษ์ประพันธ์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลชุมชน--ไทย--นครราชสีมา
บริการการพยาบาล--การควบคุมคุณภาพ
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้อุปสรรคและปัจจัยเอื้ออำนวยต่อการนำผลการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องไปใช้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครราชสีมา 2) เปรียบเทียบการรับรู้อุปสรรคในการนำผลการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องไปใช้ของพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงาน ตำแหน่งงานที่รับผิดชอบ ระดับความเข้ำใจเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ขนาดของโรงพยาบาล และผลการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลที่แตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มงานการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน จังหวัด นครราชสีมา จำนวน 323 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามขนาดโรงพยาบาล และผลการรับรอง คุณภาพโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) การรับรู้ อุปสรรคในการนำผลการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องไปใช้ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ประเมิน 4 ด้านคือ ด้านพยาบาล องค์กร คุณลักษณะของการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและด้านการสื่อสาร และ 3) การรับรู้ปัจจัยเอื้ออำนวยต่อการนำผลการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องไปใช้เป็นแบบเลือกตอบ 9 ข้อ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามส่วนที่ 2 และ 3 เท่กับ 0.96 และ 0.97 ตามลำดับ ความเที่ยงของแบบสอบถามส่วนที่ 2 เท่ำกับ 0.84วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา กสรทดสอบแมนวิทเนย์ และการทดสอบครัสคาลและวัลลิส ผลการวิจัยพบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพรับรู้อุปสรรคในการนำผลการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องไปใช้ อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการสื่อสารมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาได้แก่ด้าน องค์กรด้านคุณลักษณะของการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และด้านพยาบาล) ตามลำดับ สำหรับปัจจัยเอื้ออำนวย ต่อการนำผลการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องไปใช้ที่พยาบาลวิชำชีพรับรู้ 3 อันดับแรก ได้แก่ หน่วยงานให้ ความสำคัญในการนำการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องไปใช้ในการพัฒนางานมากที่สุด (90.70%) รองลงมาคือ มีการเพิ่มพูนความรู้และความสามารถในการจัดทำและนำการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องมาใช้ในการพัฒนางาน (84.50 %) และกำหนดให้การพัฒนำคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติงาน (82.70 %) 2) พยาบาลวิชาชีพที่มีตำแหน่งงำนที่รับผิดชอบ ระดับความเข้ำใจเกี่ยวกับกำรพัฒนาคุณภำพอย่างต่อเนื่อง ขนาดของโรงพยาบาล และผลการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลตามมาตรฐาน HA ที่แตกต่างกัน มีการรับรู้อุปสรรคต่อการนำผลการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องไปใช้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนประสบการณ์การทำงานไม่มีผลต่อการรับรู้อุปสรรคในการนำผลการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อ เนื่องไปใช้ (p> 0.05)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/282
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons