กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2823
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์กับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหลวงวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors of scientific attitude and critical thinking ability affecting science learning achievement of Mathayom Suksa III students at Wat Luang Wittaya school in Si Sa Ket province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์
ทิวกาญจน จันทร์โสภา, 2532-
หาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ทัศนคติเชิงวิทยาศาสตร์--นักเรียน
ความคิดและการคิด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติทางวิทยาศาสตร์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดหลวงวิทยา (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการคิดวิเคราะห์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ (3) สร้างสมการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้เจตคติทางวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็นตัวแปรทำนายกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 159 คน ของโรงเรียนวัดหลวงวิทยา จังหวัดศรีสะเกษ ในปีการศึกษา 2558 ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ (1) แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ (2)แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ (3) แบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ และสมการถดถอยอย่างง่ายผลการวิจัยปรากฏว่า(1) ความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติทางวิทยาศาสตร์กับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนวัดหลวงวิทยา มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .236 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการคิดวิเคราะห์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ มีค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .297 ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ(3) สมการในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้เจตคติทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์เป็นตัวแปรทำนาย ในรูปของสมการคะแนนมาตรฐานได้แก่ z = .195Zattitude + .267Zattitude
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2823
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_157928.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons