กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2829
ชื่อเรื่อง: การศึกษาพฤติกรรมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยในกิจกรรมเสรีของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดม่อนจำศีล เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study of problem solving behaviors of preschool children at Wat Monjamseen early Childhood Development Center in Khelang Nakhon Municipality, Lampang Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนิพรรณ จาติเสถียร, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา เทพนามวงศ์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
การแก้ปัญหาในเด็ก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ศึกษาพฤติกรรมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยในกิจกรรมเสรี และ(2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการแก้ปัญหาในกิจกรรมเสรีของเด็กชายและเด็กหญิง กลุ่มตัวอย่างคือเด็กปฐมวัย ชายและหญิง อายุระหว่าง 3-4 ปี ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดม่อนจำศีล เทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปางที่กำลังศึกษาใน ปีการศึกษา 2560 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้คือ (1) แบบสังเกตพฤติกรรมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย (2) แบบบันทึกพฤติกรรมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผลการศึกษาปรากฏว่า(1) พฤติกรรมการแก้ปัญหาที่พบมากที่สุดในมุมเครื่องเล่นสัมผัส เปนอันดับที่ 1 รองลงมาคือมุมบทบาทสมมุติ มุมนิทาน มุมวิทยาศาสตร์ มุมบล็อก และมุมเกมการศึกษา ตามลำดับ โดยพฤติกรรมการแก้ปัญหาที่พบมากที่สุดในมุมเครื่องเล่น คือเมื่ออุปกรณ์การเล่นไม่พอปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การเล่น พฤติกรรมการแก้ปัญหาที่พบมากที่สุดในมุมบทบาทสมมุติ คือเมื่ออุปกรณ์ที่ต้องการเล่นไม่พอปรับเปลี่ยนวิธีการเล่น พฤติกรรมการแก้ปัญหาที่พบมากที่สุดในมุมนิทานคือเมื่อต้องการอ่านเล่มเดียวกันกับที่เพื่อนอ่านอยู่ เข้าไปนั่งอ่านร่วมกับเพื่อน พฤติกรรมการแก้ปัญหาที่พบมากที่สุดในมุมวิทยาศาสตร์ คือเมื่ออุปกรณ์ที่ต้องการเล่นไม่พอปรับเปลี่ยนวิธีการเล่น พฤติกรรมการแก้ปัญหาที่พบมากที่สุดในมุมบล็อก้ คือเมื่ออุปกรณ์การเล่นไม่พอหยิบของเล่นจากเพื่อนมาเป็นของตนเอง และพฤติกรรมการแก้ปัญหาที่พบมากที่สุดในมุมเกมการศึกษา คือเมื่อไม่รู้วิธีการเล่น หรือทำไม่ได้ ใช้การสังเกตการเล่นของเพื่อน และ(2) ส่วนใหญ่เด็กชายและเด็กหญิงมีพฤติกรรมการแก้ปัญหาในมุมเครื่องเล่นสัมผัส มุมวิทยาศาสตร์มุมบล็อก มุมเกมการศึกษา คล้ายคลึงกัน แต่ทั้งนี้พบว่า เด็กหญิงมีแนวโน้มใช้กำลังในการแก้ปัญหามากกว่าเด็กชายในมุมนิทาน และมุมบทบาทสมมุติ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2829
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_159406.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons