Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/286
Title: แนวคิดประชาธิปไตยแบบร่วมปรึกษาหารือกับการพัฒนาการเมืองของไทย
Other Titles: Deliberative democracy and Thailand's Political development
Authors: ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุ่งพงษ์ ชัยนาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
วสุธิดา ช่อทิพย์, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
ประชาธิปไตยแบบสานเสวนา
การพัฒนาทางการเมือง
การพัฒนาประชาธิปไตย -- ไทย
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ที่มาและสาระของแนวคิดประชาธิปไตย แบบร่วมปรึกษาหารือ 2) รูปแบบและวิธีการในการนำแนวคิดประชาธิปไตยแบบร่วมปรึกษาหารือมาพัฒนาการเมืองของไทย วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิจัยจากเอกสารและการสำรวจภาคสนามชงใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนจากกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิและกลุ่มตัวแทนภาคประชาสังคม จำนวน 10 ท่านและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงพรรณนาแล้วจึงสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาธิปไตยแบบร่วมปรึกษาหารือ เป็นประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่ผสมผสานไปกับการมีส่วนร่วมในขอบเขตที่กว้างขวางของประชาชน โดยมีนักคิดชาวเยอรมัน คือ เจอเก้น ฮาเบอร์มาส เป็นผู้เสนอแนวคิดนี้ (2) แนวคิดประชาธิปไตยแบบร่วมปรึกษาหารือมีผลต่อการพัฒนาการเมืองของไทยโดยเป็นปัจจัยส่งเสริม ช่วยลดความขัดแย้งความแตกแยกทางความคิดในทางการเมืองของไทยนำไปสู่ความสมานฉันท์ เพราะประชาชนใช้หลักแห่งเหตุผลในการแสดงความคิดเห็น และยอมรับพังเหตุผล ส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมือง ทำให้ประชาธิปไตยแบบตัวแทนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อให้เกิดการพัฒนาการเมืองของไทย (3) รูปแบบในการดำเนินการตามแนวคิดนี้ได้แก่ การประชาเสวนาหาทางออก การเสวนาแบบเวทีเปิด การเปิดเวทีแสดงความคิดเห็นในสื่อต่างๆ และการใช้วิธีการลงคะแนนโดยผ่านกระบวนการปรึกษาหารือ (4) วิธีการนำแนวคิดนี้มาใช้ให้มีประสิทธิภาพต้องทำในลักษณะผสมผสานการคิดเชิงบูรณาการ โดยรัฐทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยกระบวนการคอยให้การสนับสนุน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผ่านกระบวนการประชามติ โดยการเปิดเวทีสาธารณะในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้เกิดการยอมรับข้อตกลงและมีบทสรุปร่วมกัน นำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง ลดการขัดแย้ง เกิดเป็นสังคมสมานฉันท์
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/286
Appears in Collections:Pol-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
150146.pdfเอกสารฉบับเต็ม54.93 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons