Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2875
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจขายน้ำยางพาราสดของสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางเกาะแก้วพัฒนา จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Other Titles: Factors affecting members' decisions to sell raw latex to Koh Kaew Patana Rubber Plantation Fund Cooperative, Limited, Surat Thani Province
Authors: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
พงษ์พัฒน์ โภชนาธาร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ยางพารา
ยางพารา--ไทย--สุราษฎร์ธานี
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทั่วไปทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกสหกรณ์ (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจขายน้ำยางพาราสดของสมาชิกสหกรณ์และ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการขายน้ำ ยางพาราสดของสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางเกาะแก้วพัฒนา จำกัด จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรที่ศึกษาเป็นสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางเกาะแก้วพัฒนา จำกัด ที่ขายน้ำยางพาราสดกับ สหกรณ์ทั้งหมด จำนวน 63 คน เก็บตัวอย่างจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่แบบสอบถาม สถิติ ที่ใช้ได้แก่ค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีช่วงอายุ 41-50 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ช่วยทำการเกษตรจำนวน 1-2 คน จำนวนพื้นที่ปลูกยางพารา (ที่กรีดได้) 10-20 ไร่ ระยะ ทางการขนส่งน้ำยางพาราสดจากสวนยางพาราถึงจุดรับซื้อ 1-5 กิโลเมตร รายได้จากการขายน้ำยางพาราสดเฉลี่ยต่อ เดือน 5,001-10,000 บาท ระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์ 1-5 ปี และความถี่ในการขายน้ำยางพาราสดให้กับสหกรณ์ เป็นประจำคือ ขายทุกครั้งที่กรีด ปริมาณน้ำยางพาราสดที่ขายให้กับสหกรณ์ 51-100 กิโลกรัม (2) ปัจจัยที่มีผลต่อการ ตัดสินใจขายน้ำยางพาราสดของสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางเกาะแก้วพัฒนา จำกัด ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (น้ำ ยางพาราสด) ด้านราคา ด้านช่องทางการจำหน่ายอยู่ในระดับมากส่วนด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจขายน้ำยางพาราสดของสมาชิกในระดับที่สูงเป็นลำดับแรกคือปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (น้ำ ยางพาราสด) รองลงมาคือปัจจัยด้านช่องทางการจำหน่ายอยู่ปัจจัยด้านราคา และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ (3) ปัญหาและอุปสรรคในการขายน้ำยางพาราสดได้แก่การให้บริการล่าช้า/ เจ้าหน้าที่ให้บริการน้อย ค่าเปอร์เซ็นต์น้ำ ยางพาราสดที่วัดได้ต่ำไปจากเดิมมาก และข้อเสนอแนะในการขายน้ำยางพาราสดของสมาชิกได้แก่ ปรับปรุงการวัดค่า เปอร์เซ็นต์น้ำยางพาราสดให้ตรงกับความเป็นจริง ความเพียงพอของเจ้าหน้าที่ต่อการให้บริการ ความรวดเร็วในการ ให้บริการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2875
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148428.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.84 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons