กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/290
ชื่อเรื่อง: | บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งกับการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดร้อยเอ็ด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The role of the election committee in developing local politics in Roi-Et Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ สำรวย อยู่สุข, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เสนีย์ คำสุข |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ การพัฒนาชุมชน -- ไทย -- ร้อยเอ็ด |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อคึกษา (1) บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการพัฒนา การเมืองท้องถิ่นของจังหวัดร้อยเอ็ด (2)ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดบทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นของจังหวัดร้อยเอ็ด (3) หาแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการาวัฒนาการเมืองท้องถิ่น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการคึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงจำนวน 16 คน ประกอบด้วยกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด 3 คนผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด 1 คนพนักงานสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด 1 คน กรรมการการเลือกตั้งประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน หัวหน้าพนักงานส่วนท้องถิ่น 2 คน ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น 4 คน องค์การเอกชนตรวจสอบการเลือกตั้ง 1 คน นักวิชาการ 1 คน สื่อมวลชน 1 คน และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1 คน ผลการวิจัย (1) บทบาทการทำหน้าที่ของการ ได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นได้ดำเนินการบนหลักการสุจริตและเที่ยงธรรมอย่างเคร่งครัดเน้นให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนให้มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันอย่างประจักษ์ชัดโดยการส่งเสริมให้เกิดการระดมมวลชนเข้ามาควบคุม กำกับ ตรวจสอบที่สำคัญต่อการแต่งตั้งอาสาสมัครสังเกตการณ์การเลือกตั้ง แต่งตั้งลูกเสืออาสากกต.ช่วยเหลือกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง แต่งตั้งอนุกรรมการสืบสวนสอบสวนทาข้อเท็จจริง แต่งตั้งชุดป้องปรามและหาข่าวในการเลือกตั้ง รวมทั้ง ได้ให้การคึกษาเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยผ่านโครงการ กิจกรรมและช่องทางต่างๆ ดังนี้ บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งคงเน้นภาพลักษณ์ของความเป็นกลางทางการเมือง (2) ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดของคณะกรรมการการเลือกตั้งในคณะกรรมการ การเลือกตั้งประจำจังหวัด พบว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดไม่มีอำนาจอนุมัติโครงการต่างๆและสั่งสืบสวนสอบสวนกรณีความปรากฏทำให้ไม่สามารถดำเนินงานได้โดยมีอิสระเกิดความล่าช้าและขาดความต่อเนื้องอีกตั้งประชาชนในท้องถิ่นมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับนักการเมืองส่งผลให้การเข้ามาควบคุม กำกับ ตรวจสอบ และปฏิบัติงานเป็นไปในเชิงลบบนพื้นฐานของระบบอุปภัมภ์ (3) ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา พบว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งควรปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบที่เป็นอุปสรรคมอบอำนาจการบริหารจัดการองค์กรให้สามารถดำเนินงานได้โดยมีอิสระและเพิ่มอำนาจให้ กกต.จังหวัดสามารถสั่งสืบสวนสอบสวนกรณีความปรากฏควบคู่กับการเสริมสร้างวิถีประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วม ทางการเมืองของประชาชน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/290 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
144839.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 32.79 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License