กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2923
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้และการบ่งชี้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรม ที่มีต่อความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of learning management using inquiry-based learning and explicit nature of science approach in the topic of Heredity on nature of science understanding of science talented Mathayom Suksa III students in Pathum Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จุฬารัตน์ ธรรมประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิภาวี จินดานุรักษ์, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้
การจัดการชั้นเรียน
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้และการบ่งชี้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรมกับของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จากโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุงปทุมธานีจำนวน 68 คนจำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้และการบ่งชี้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ เรื่อง พันธุกรรม แบบสำรวจความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ อนุทินสะท้อนความคิดของนักเรียน และแบบบันทึกการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้และการบ่งชี้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ มีค่าสูงกว่าก่อนเรียนและมีค่าสูงกว่าของกลุ่มที่เรียนจากการเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้แต่เพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 60 มีการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ทั้ง 9 ประเด็น จากระดับเข้าใจคลาดเคลื่อน และระดับเข้าใจบางส่วนเป็นระดับเข้าใจถูกต้องชัดเจน ประเด็นธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ที่นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงความเข้าใจมากที่สุด ได้แก่ (1) นักวิทยาศาสตร์เข้าร่วมในกิจกรรมทางสังคมในฐานะผู้เชี่ยวชาญหรือพลเมืองของสังคม (2) วิทยาศาสตร์เป็นการผสมผสานระหว่างเหตุผลกับจินตนาการและ (3) ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2923
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_160961.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons