Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2926
Title: | การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
Other Titles: | Construction of a mathematics supplementary reading entitled Probability for Mathayom Suksa V students |
Authors: | วินิจ เทือกทอง กมลภพ วสิษฐวุฒิ, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี ความน่าจะเป็น--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) คณิตศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติมกลมสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ2) ตรวจสอบคุณภาพ ของหนังสืออ่านเพิ่มเติมกลมสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ผู้ให้ข้อมูลในการศึกษา คือครูผู้สอนในรายวิชาคณิตศาสตร์ที่มีประสบการณ์การสอน เนื้อหาเรื่อง ความน่าจะเป็น จำนวน 8 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2561 โรงเรียนอมก๋อยวิทยาคม จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบ สัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมกลมสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องความน่า จะเป็นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือความถี่และร้อยละผลการศึกษาปรากฏว่า (1) หนังสืออ่านเพิ่มเติมกลมสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วยเนื้อหา 5 บท ได้แก่ บทที่ 1กฎเกณฑ์เบื้องต้นเกี่ยวกับการนับ บทที่ 2 วิธีเรียงสับเปลื่ยน บทที่ 3 วิธีการจัดหมู่ บทที่ 4 ทฤษฎีบททวินาม และบทที่ 5 ความน่าจะเป็น (2) ผลการประเมินคุณภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติมกลมสาระการ เรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า หนังสือมีเนื้อหาครอบคลุมตามหลักสูตร การที่มีภาพประกอบเนื้อหา การสอดแทรกวัฒนธรรม และประเพณีท้องถิ่น และการสรุปความรู้ท้ายบทเรียนซึ่งช่วยให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในเนื้อหามากยิ่งขึ้น การจัดรูปแบบหน้าหนังสือมีความเหมาะสม หนังสือมีการเข้าเล่มที่เรียบร้อย สภาพคงทน ไม่ฉีกขาดง่าย แต่หนังสือควรปรับขนาดให้เล็กลงเพื่อสะดวกต่อการพกพาและการนำมาใช้แบบฝึกหัดมีความยากเกินไปสำหรับนักเรียน และปกของหนังสือยังไม่สามารถดึงดูดใจผู้อ่านเท่าที่ควร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2926 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_159562.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 8.64 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License