Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2927
Title: การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการอ่านจับใจความทางการสอนภาษาไทย
Other Titles: Synthesis of researches about reading comprehension in teaching Thai languages
Authors: ธนรัชฏ์ ศิริสวัสดิ์
โกวิท ทองมาก, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษาไทย--การอ่าน--วิจัย
ความเข้าใจในการอ่าน
การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยเกี่ยวกับการอ่านจับใจความทางการสอนภาษาไทย ระหว่างปีพุทธศักราช 2551-2560 และ (2) สังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการอ่านจับใจความทางการสอนภาษาไทย ประชากร คือวิทยานิพนธ์ ปริญญานิพนธ์และการศึกษาค้นคว้าอิสระ ที่ศึกษาเกี่ยวกับการอ่านจับใจความทางการสอนภาษาไทยจากมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคกลางและภาคตะวันตก ที่พิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2559 จำนวน 135 เล่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบสรุปคุณลักษณะของงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาค้นคว้าปรากฏว่า (1) ผลการศึกษาคุณลักษณะงานวิจัยเกี่ยวกับการอ่านจับใจความทางการสอนภาษาไทย พบว่า ปีเผยแพร่มากที่สุดคือ พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยที่ผลิตงานวิจัยมากที่สุดคือมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประเภทของงานวิจัยส่วนใหญ่คือ วิทยานิพนธ์ งานวิจัยส่วนใหญ่ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง งานวิจัยส่วนใหญ่ออกแบบการวิจัยวัดก่อน-หลังการทดลองแบบกลุ่มเดียว งานวิจัยส่วนใหญ่ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนักเรียนในระดับประถมศึกษา งานวิจัยส่วนใหญ่ผู้วิจัยใช้ตัวแปรต้นเป็นวิธีสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนใหญ่ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลของงานวิจัยส่วนใหญ่ใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ประเภทของเนื้อหาที่ใช้ในการพัฒนาการอ่านจับใจความส่วนใหญ่นิยมใช้เนื้อหาประเภทบทความ และ (2) ผลการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการอ่านจับใจความ พบว่า รูปแบบการเรียนการสอนส่วนใหญ่เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการบูรณาการ รองลงมา ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นทักษะพิสัย และรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นพุทธิพิสัย ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2927
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_161617.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.38 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons