Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2939
Title: การดำเนินงานสหกรณ์ภาคเกษตรในจังหวัดสตูลหลังการปรับตำแหน่งสหกรณ์อำเภอ
Other Titles: Operational of agricultural cooperatives in Satun Province after the reform of the district cooperative officers
Authors: ส่งเสริม หอมกลิ่น
สุริยา โส๊ะเต่ง, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตร--การจัดการ
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรภาคสหกรณ์และภาคราชการสหกรณ์ในจังหวัดสตูล (2) ระดับความสำคัญของปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ (3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรภาคสหกรณ์ และภาคราชการสหกรณ์กับปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ภาคเกษตรในจังหวัดสตูลประชากรที่ใช้ในศึกษา คือ บุคลากรสหกรณ์ภาคเกษตรจีงหวัดสตูลก่อน พ.ศ.2545 ได้แก่ คณะกรรมการดำ เนินการฝ่ายจัดการ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่ตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 85 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) บุคลากรภาคสหกรณ์และภาคราชการสหกรณ์ส่วนใหญ่เพศชาย อายุ 36-45 ปี ระดับ การศึกษามัธยมศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน 11-20 ปี 2) ระดับความสำคัญ ปัญหาการดำเนินงานของสหกรณ์ พบว่า (1) ปัญหาภายในของสหกรณ์โดย ภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง โดยมีระดับของปัญหาตามลำดับ คือ ด้านบุคคล ด้านการดำเนินธุรกิจ ด้านวัสดุอุปกรณ์ ด้านเงินทุน และด้านการจัดการ (2) ระดับ ความสำคัญของปัญหาภายนอกของสหกรณ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยมีระดับของปัญหาตามลำดับ คือ ด้านนโยบายภาครัฐ ด้านการสร้างเครือข่ายสหกรณ์ และกฎหมายระเบียบและข้อบังคับสหกรณ์ 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลกับ ปัญหาการดำเนินงานภายในของสหกรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า เพศ มีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านสมาชิกสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ และด้านวัสดุอุปกรณ์ อายุ มีความสัมพันธ์กับ ปัญหาด้านฝ่ายจัดการสหกรณ์ และด้านเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ วุฒิการศึกษา มีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านคณะกรรมการดำเนินการตำแหน่งงาน มีความสัมพันธ์กับ ปัญหาด้านเงินทุน และการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ และประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลต่อปัญหาการดำเนินงานภายนอกของสหกรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับสหกรณ์ การศึกษา มีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านนโยบายรัฐ ตำแหน่งงาน มีความสัม พันธ์กับปัญหาการสร้างเครือข่ายสหกรณ์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2939
Appears in Collections:Agri-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_140517.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.4 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons