กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2953
ชื่อเรื่อง: การศึกษารูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานทุเรียนโดยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกรณีศึกษาสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองนนทบุรี จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of durian supply chain management patterns by participatory action research method : a case study of Muang Nonthaburi Agricultural Cooperatives Ltd.' members
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรุณี เตชะเสนา, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โลจิสติกส์ทางธุรกิจ
ทุเรียน
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) วิถีการตลาดของผลผลิตที่ประกอบด้วยกิจกรรมที่เกิดขึ้นของสมาชิกสหกรณ์ในห่วงโซ่อุปทานทุเรียนของสหกรณ์การเกษตรเมืองนนทบุรี จำกัด (2) การมีส่วนร่วมของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองนนทบุรีจำกัด ในการจัดการในห่วงโซ่อุปทานธุรกิจทุเรียนนนทบุรี (3) ระบบการขนส่งที่เชื่อมโยงจากแหล่งผลิตถึงผู้บริโภคปลายทาง ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ ผู้จัดการ 1 คนและสมาชิกจำนวน 20 คนของสหกรณ์การเกษตรเมืองนนทบุรี จำกัด กลุ่มตัวอย่างได้มาจากวิธีการเลือกแบบรเจาะจง ตามคำแนะนำของประธานกลุ่มสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้จัดการสหกรณ์ 1 คน สมาชิกสหกรณ์จำนวน 12 คน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง และแบบสัมภาษณ์ที่ไม่มัโครงสร้าง รวมถึงการสังเกตการณ์การปฏิบัติงานในการจัด การห่วงโซ่อุปทานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผลการศึกษา พบว่า (1) วิถีตลาดของผลผลิตจากกิจกรรมของสมาชิกสหกรณ์ สอดคล้องกับการนำ แนวคิดการจัดการห่วงโซ่อุปทานมาประยุกต์ใช้ในการบริหารการผลิตทุเรียนของสหกรณ์ทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทาน (2) การดำเนินการเป็นไปในลักษณะของการร่วมคิดและร่วมตัดสินใจของสมาชิกสหกรณ์และชุมชนสมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่มีส่วนร่วมระดับสูง และสามารถแสดงความคิดเห็นในการตัดสินใจให้ความเห็นชอบอย่างรอบครอบ และรับผลประโยชน์ร่วมกัน (3) ระบบการขนส่งที่เชื่อมโยงจากแหล่งผลิตถึงผู้บริโภคปลายทางครอบคลุมถึงการบริหารจัดการ ด้านคุณภาพการเก็บรักษา และการบริหารเวลา ให้ทันกับความต้องการของลูกค้า การศึกษาพบว่า ในทุกขั้นตอนของการจัดการห่วงโซ่อุปทานมีความสัมพันธ์กัน เป็นสายสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันและมีความสำคัญทุกขั้นตอนในห่วงโซ่อุปทาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2953
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT_140847.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons