Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2982
Title: | การมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางวังโตนด จำกัด จังหวัดจันทบุรี |
Other Titles: | Participation in business operations of members of Wang Tanot Rubber Plantation Fund Cooperative Limited in Chanthaburi Province |
Authors: | ส่งเสริม หอมกลิ่น ภิรมย์ แก้ววิเชียร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี สหกรณ์กองทุนสวนยาง (สกย.)--สมาชิก--การบริหาร การศึกษาอิสระ--สหกรณ์ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสหกรณ์กองทุนสวนยางวังโตนด จำกัด 2) ธุรกิจและระดับในการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางวังโตนด จำกัด 3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านสหกรณ์ของสมาชิกและปัจจัยด้านสหกรณ์กับการมีส่วนร่วมในการทำธุรกิจของ สมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางวังโตนด จำกัด 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคลของสมาชิกกับการมีส่วนร่วม ในการทำธุรกิจของสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางวังโตนด จำกัด 5) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะกับการมี ส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของสมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางวังโตนด จำกัด จังหวัดจันทบุรี ประชากรที่ศึกษาคือ สมาชิกสหกรณ์กองทุนสวนยางวังโตนด จำกัด โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 272 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ร้อย ละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบไคสแควร์และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุระหว่าง 51-60 ปีการศึกษาระดับประถม ศึกษาสถานภาพสมรส ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยต่อปี 50,000 – 100,000 บาท ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อปี 30,001 – 50,000 บาท การเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ 6-10 ปี 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของสมาชิกในปี ที่ ผ่านมา ธุรกิจรับเงินฝากร้อยละ 52.6 และธุรกิจรวบรวมผลผลิต ร้อยละ 26.5 ปัจจัยด้านสหกรณ์ที่มีผลต่อการมี ส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของสมาชิกโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่อยู่ในระดับมากที่สุด คือความมั่นคง ของสหกรณ์ระดับมากคือความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการบริหารและผลตอบแทนที่ได้รับ 3) ความสัมพันธ์ของ ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของสมาชิกพบว่า รายได้เฉลี่ยต่อปี มี ความสัมพันธ์กับ ธุรกิจรับฝากเงิน และธุรกิจรวบรวมผลผลิต ระยะเวลาการเป็นสมาชิกสัมพันธ์กับธุรกิจรับฝาก เงิน และธุรกิจรวบรวมผลผลิต สำหรับปัจจัยด้านสหกรณ์พบว่า ความมั่นคงของสหกรณ์ และความเชื่อมั่นต่อ คณะกรรมการมีความสัมพันธ์กับธุรกิจรับฝากเงิน และธุรกิจรวบรวมผลผลิต ผลตอบแทนที่ได้รับมีความสัมพันธ์ กับธุรกิจรับฝากเงิน และธุรกิจรวบรวมผลผลิต และสวัสดิการ มีความสัมพันธ์กับธุรกิจรับฝากเงินอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ปัญหา อุปสรรค ในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจของสมาชิก สหกรณ์คือไม่มีเวลาเข้าร่วมการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์การให้บริการของคณะกรรมการ และสหกรณ์มีธุรกิจ ให้บริการแก่สมาชิกไม่ครบถ้วนตามที่ต้องการ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/2982 |
Appears in Collections: | Agri-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
146725.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License