กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/300
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of palm-leaf manuscripts management model in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ราชันย์ นิลวรรณาภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประสิทธิชัย เลิศรัตนเคหกาล, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
ใบลาน--การจัดการ
ระบบการจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ
การจัดระเบียบสารสนเทศ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย(2) ศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อความสําเร็จในการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย (3) ศึกษาปัญหาการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย และ (4) พัฒนารูปแบบการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจํานวน 28 คน คัดเลือกแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนดจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่มีการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย จํานวน 14 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย รับรองร่างรูปแบบด้วยการประชุมผู้เชี่ยวชาญจํานวน 10 คน และตรวจสอบรูปแบบโดยนําคู่มือไปใช้ในหน่วยงานที่มีการจัดการคัมภีร์ใบลาน 3 แห่ง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทยเป็นการจัดการกระจาย ในแต่ละภูมิภาคในลักษณะโครงการ โดยมีนโยบายจัดตั้งเป็นสถาบัน ศูนย์ หรือพิพิธภัณฑ์ที่มีแผนพัฒนา คัมภีร์ใบลานให้อยู่ในรูปดิจิทัล และมีกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 2) ปัจจัยที่เอื้อต่อความสําเร็จ ในการจัดการคัมภีร์ใบลาน ได้แก่ การกำหนดให้การจัดการคัมภีร์ใบลานเป็นนโยบายหลักขององค์กร การมีโครงสร้างองค์กรที่ชัดเจนและมีบุคลากรรับผิดชอบ ภาวะผู้นําของผู้บริหาร และเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างบุคคล 3) ปัญหาการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทย ได้แก่ โครงสร้างองค์กรไม่ชัดเจนและ ขาดบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรง ความไม่ต่อเนื่องของงบประมาณสนับสนุน และเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่ทันสมัย 4) รูปแบบที่เหมาะสมของการจัดการคัมภีร์ใบลานในประเทศไทยประกอบด้วย ด้านการบริหารองค์กรคัมภีร์ใบลานมี 3 ระดับ ได้แก่ระดับชาติ ระดับหน่วยงานและระดับท้องถิ่น มี 6 ปัจจัย โดยปัจจัยที่สําคัญที่สุดคือการกาหนดนโยบายการจัดการคัมภีร์ใบลานให้เป็นนโยบายหลักขององค์กร ส่วนด้านกระบวนการจัดการคัมภีร์ใบลานทางกายภาพและทางดิจิทัลประกอบด้วย การจัดหาและรวบรวมคัมภีร์ใบลาน การจัดโครงสร้างสารสนเทศโดยการกาหนดหมวดหมู่ จากเนื้อหาในคัมภีร์ใบลาน การจัดเก็บและค้นคืน การปริวรรตใบลาน การบริการและเผยแพร่คัมภีร์ใบลาน การสงวนรักษาและการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน ผลการตรวจสอบความสามารถในการนํารูปแบบไปประยุกต์ใช้อยูในระดับมาก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/300
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
153044.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons