กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3005
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์การดำเนินงานของธนาคารเฉพาะกิจที่ดำเนินธุรกรรมสินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An analysis of specialized bank operation housing loan transactions in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กัลยานี ภาคอัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
อภิญญา วนเศรษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชยงการ ภมรมาศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สัณฐิติ ยรรยงเมธ, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานของธนาคารเฉพาะกิจที่ดำเนินธุรกรรมสินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย (2) วิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของธนาคารเฉพาะกิจในช่วงก่อนและหลังการปฏิรูปประเทศไทย (3) วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงผลิตภาพการดำเนินงานของธนาคารเฉพาะกิจในช่วงก่อนและหลังการปฏิรูปประเทศไทย และ (4) ระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพการดำเนินงานของธนาคารเฉพาะกิจในช่วงก่อนและหลังการปฏิรูปประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้ศึกษาจากประชากร คือ ธนาคารเฉพาะกิจที่ดำเนินธุรกรรมสินเชื่อด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย 2 ธนาคาร คือ ธนาคารออมสินและธนาคารอาคารสงเคราะห์ โดยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งประกอบด้วยรายงานประจำปี สำหรับระยะเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546-2560 เป็นระยะเวลา 15 ปี การวิจัยดำเนินการดังนี้ (1) ศึกษาข้อมูลการดำเนินงานและข้อมูลทางการเงิน รวมทั้งวิเคราะห์งบการเงินของธนาคารเฉพาะกิจโดยใช้วิธีแนวโน้ม (2) ใช้วิธี DEA (Data Envelopment Analysis) เพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการดำเนินงานของธนาคารเฉพาะกิจ (3) ใช้ดัชนีผลิตภาพเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงผลิตภาพการดำเนินงานของธนาคารเฉพาะกิจ และ (4) ใช้สมการถดถอยพหุเพื่อระบุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพของธนาคารเฉพาะกิจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สหสัมพันธ์เพียร์สัน สถิติที และค่า p-value ผลการศึกษาพบว่า (1) ธนาคารออมสินเป็นผู้นำในการส่งเสริมการออมและธนาคารอาคารสงเคราะห์เป็นธนาคารที่ดีที่สุดสำหรับการมีบ้าน (2) การดำเนินงานของธนาคารเฉพาะกิจในช่วงก่อนและหลังปฏิรูปประเทศไทยมีระดับประสิทธิภาพ โดยเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ 0.01 (3) การเปลี่ยนแปลงผลิตภาพของธนาคารเฉพาะกิจลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 0.90 และ (4) อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสียงและเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝาก เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงผลิตภาพของธนาคารเฉพาะกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (บธ.ด.(วิทยาการจัดการ))
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3005
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม27.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons