กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3019
ชื่อเรื่อง: | บทบาทของ "พ่อเลี้ยง" ต่อโลกทัศน์ทางการเมืองในการเมืองท้องถิ่น อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Role of "Pho Leang" (wealthy man) in the political worldview in local politics Thoen District, Lampang Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิศาล มุกดารัศมี จิตจิรา เรืองสวัสดิ์, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครองท้องถิ่น--การศึกษาเฉพาะกรณี ผู้นำท้องถิ่น--ไทย--ลำปาง การศึกษาอิสระ--การเมืองการปกครองท้องถิ่น |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาที่มาของการเกิดโลกทัศน์ทางการเมืองจากบทบาทของ “พ่อเลี้ยง” 2) เพื่อศึกษาบทบาทและอิทธิพลของ “พ่อเลี้ยง” ต่อโลกทัศน์ทางการเมืองในการเมืองท้องถิ่น อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มที่ 1 นักวิชาการมหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มที่ 2 พ่อเลี้ยงในอำเภอเถิน จังหวัดลำปาง กลุ่มที่ 3 ผู้รู้ในชุมชนและปราชญ์ชาวบ้าน ผลการศึกษาพบว่า 1) “พ่อเลี้ยง” เกิดขึ้นในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองตั้งแต่หลังลงนามในสนธิสัญญาบาวริ่ง พ.ศ. 2398 ที่ลงนามกับอังกฤษ 2) “พ่อเลี้ยง” ได้เข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองในระยะของความขัดแย้งใน ปี พ.ศ. 2500-2516 ในช่วงที่จอมพลสฤษดิ์เข้ามามีอำนาจ ต่อมาเมื่อจอมพลถนอม กิตติขจร ได้เข้ามาสืบทอดอำนาจหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์เสียชีวิต รัฐบาลของจอมพลถนอมได้เร่งรัด “นโยบายพัฒนา” เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้หัวเมืองต่างๆ กลายเป็นจุดสนใจในการท่องเที่ยว ทำรายได้เป็นจำนวนมากให้กับนายทุนในช่วงนี้กลุ่มนายทุนภาคเหนือ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเมืองอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการเมืองท้องถิ่นในระดับเทศบาล 3) “พ่อเลี้ยง” เป็นบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมากในท้องถิ่น เป็นผู้ที่สามารถพัฒนาท้องถิ่นในด้านต่างๆ ได้ เพราะเป็นผู้ที่มีความพร้อมในหลายด้าน สิ่งที่สำคัญคือ เป็นผู้ที่มีความมั่งคั่งร่ำรวย เป็นผู้กว้างขวางรู้จักกับผู้หลักผู้ใหญ่มากมายในท้องถิ่น มีท้องถิ่นที่เป็นฐานอำนาจของตัวเอง เป็นผู้ที่สามารถเข้าได้กับทุกคนตั้งแต่ชาวบ้านยากจนไปจนถึงผู้มีฐานะสูงได้ เป็นผู้ที่ให้การช่วยเหลือชาวบ้านในทุกๆ เรื่อง ที่ชาวบ้านเดือดร้อนต้องการขอความช่วยเหลือ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3019 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.91 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License