กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3021
ชื่อเรื่อง: | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal problems concerning borrowings which are regarded as public cheating and fraud |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จิตรา เพียรล้ำเลิศ วรวุฒิ ทองชาติ, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การกู้ยืม--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีทางกฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน (2) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน (3) วิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และ (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสาร ได้แก่ ตำรากฎหมาย บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาทำการศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ผลการศึกษาพบว่า (1) การมีกฎหมายบัญญัติความผิดและโทษทางอาญาแก่การกระทําอันเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน สอดคล้องกับแนวคิดการกำหนดความผิดทางอาญา การลงโทษ และแนวคิดอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (2) สหรัฐอเมริกามีกฎหมายบัญญัติให้มีการดำเนินคดีอาญาด้วยความรวดเร็ว ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในความผิดฉ้อโกง มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บังคับคดีตามคำพิพากษาแทนผู้เสียหาย และเยอรมนีมีกฎหมายกำหนดให้ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐโดยการชดเชยความเสียหายจากการตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรม (3) พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนมีบทบัญญัติความผิดที่ยังไม่ครอบคลุมบทลงโทษยังไม่มีความเหมาะสม ทำให้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการลงโทษ มีการใช้เวลาในการดำเนินคดีที่ยาวนาน และหากผู้กระทำผิดหลบหนีคดีจนขาดอายุความแล้วไม่สามารถดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดได้ อีกทั้งไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่บังคับคดีแทนผู้เสียหาย ตลอดจนผู้เสียหายซึ่งตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมดังกล่าวไม่ได้รับการชดเชยจากรัฐ (4) ควรมีการแก้ไขพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนให้มีบทบัญญัติความผิดที่ครอบคลุมการกระทำให้มากขึ้น แก้ไขเกี่ยวกับบทลงโทษให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การลงโทษแก้ไขให้มีการดำเนินคดีอาญาที่รวดเร็วและแก้ไขเรื่องอายุความ นอกจากนี้ควรจัดให้มีหน่วยงานของรัฐเพื่อทำหน้าที่บังคับคดีตามคำพิพากษาแทนผู้เสียหาย และให้ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับการชดเชยจากรัฐ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3021 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License