กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3035
ชื่อเรื่อง: สิทธิการเสนอกฎหมายโดยประชาชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Right to legislative initiative by the people
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรเดช มโนลีหกุล
ฉัตรชัย ก่อเกิด, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
สิทธิเสนอร่างกฎหมาย
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสิทธิการเสนอกฎหมายโดยประชาชนในประเทศไทยเพื่อศึกษาสิทธิการเสนอกฎหมายโดยประชาชนในสมาพันธรัฐสวิส สหรัฐอเมริกา และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 2550 และ 2560 จากตำรากฏหมาย บทความทางวิชาการ งานวิจัยและผลงานทางวิชาการอื่นๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยนำมาวิเคราะห์หาข้อสรุป เพื่อให้ได้ทราบถึงแนวคิด ทฤษฎี และบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิการเสนอกฎหมายโดยประชาชน ผลการศึกษา พบว่า (1) ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเสนอร่างพระราชบัญญัติ หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ เท่านั้น ซึ่งมีหลักการคล้ายกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และ 2540 และจำนวนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายในรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 และ 2550 มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งหมื่นคน ซึ่งลดลงจากรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 ที่กำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จํานวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน ส่วนการร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2550 และ 2540 (2) การเสนอกฎหมายโดยประชาชนในต่างประเทศ เมื่อได้รับการยอมรับจากสภาผู้แทนราษฎร และประชาชนทั้งประเทศในการออกเสียงประชามติเรียบร้อยแล้ว หากต้องการที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกกฎหมายนั้นในสมาพันธรัฐสวิส ต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชน โดยการออกเสียงประชามติก่อน และในสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายของแต่ละมลรัฐกําหนดไว้แตกต่างกัน หากในตัวกฎหมายนั้นได้ให้อำนาจแก่ฝ่ายนิติบัญญัติให้สามารถกระทําได้ หากไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ การแก้ไขกฎหมายที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวนั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนผู้ออกเสียงเลือกตั้งก่อน ส่วนในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มีกฎหมายของแต่ละมลรัฐกำหนดไว้แตกต่างกันและจะต้องได้รับความเห็นชอบโดยเสียงข้างมากของประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนทั้งหมด (3) ปัญหาและอุปสรรคการเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน คือ 1) การจัดทําร่างกฎหมายเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญ รวมทั้งเทคนิคและวิธีการร่างกฎหมายเป็นการเฉพาะ 2) การร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ก็ต่อเมื่อมีคำรับรองของนายกรัฐมนตรีเท่านั้น และ 3) พระราชบัญญัติ รัฐสภายังมิได้ให้ความเห็นชอบจะตกไป เมื่อสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2556 เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการจัดทําและเสนอร่างกฎหมายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ดังนี้ 1) ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นหน่วยงานช่วยเหลือประชาชนในการจัดทำร่างกฎหมาย 2) ให้จัดตั้ง “กองทุนสนับสนุนการจัดทำและเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน” ขึ้นในสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 3) ให้กําหนดระยะเวลาการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี ให้คํารับรองหรือไม่ กรณีเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน 4) ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีหน้าที่เสนอแนะ เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาร้องขอต่อรัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยประชาชนภายหลังการเลือกตั้งทั่วไป ในกรณีที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร และ 5) ยกเลิกโทษอาญา เนื่องจากการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยประชาชน เพื่อเป็นการรับรองสิทธิของประชาชน ตามหลักการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3035
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons