กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3050
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตมังคุดของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing mangosteen production of farmers in Phatthalung Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพล จตุพร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ผกามาศ คุ่มเคี่ยม, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มังคุด--การผลิต--ไทย--พัทลุง
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการผลิตมังคุด และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตมังคุดของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง การศึกษาเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ผลิตมังคุด จำนวน 363 ราย ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าต่ำสุด - สูงสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณด้วยวิธีลดรูปตัวแปร โดยพิจารณาแนวคิดฟังก์ชันการผลิต ผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 57.02 ได้รับการศึกษาชั้นประถมศึกษามากที่สุด ร้อยละ 58.13 อายุเฉลี่ย 59.83 ปี มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.41 คน มีรายได้และรายจ่ายของครัวเรือนเฉลี่ย 150,465 และ 119,499 บาทต่อปี ตามลำดับ พื้นที่ถือครองของครัวเรือนเฉลี่ย 12.40 ไร่ มีสัดส่วนภาระหนี้สินต่อกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ร้อยละ 50.69 เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมังคุด ร้อยละ 52.89 ได้รับข้อมูลข่าวสารการผลิตมังคุดจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมากที่สุด ร้อยละ 42.42 เป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร ร้อยละ 77.69 เกษตรกรมีประสบการณ์การผลิตเฉลี่ย 16.74 ปี มีขนาดพื้นที่ในการผลิตมังคุดเฉลี่ย 1.83 ไร่ ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 184.26 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้แรงงานในครัวเรือนและแรงงานจ้างเฉลี่ยเท่ากับ 1.75 และ 1.15 คน ตามลำดับ มีรายได้ทั้งหมดจากการจําหน่ายผลผลิตเฉลี่ย 13,038 บาทต่อปี ต้นทุนจากการผลิตเฉลี่ย 1,499.45 บาทต่อไร่ต่อปี ใช้ปริมาณปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีเฉลียต่อไร่เท่ากับ 338.26 และ 55.68 กิโลกรัม ตามลำดับ ทำสวนมังคุดในลักษณะส่วนผสมร้อยละ 96.69 ใช้เงินทุนตนเองในการผลิต ร้อยละ 99.17 จำหน่ายผลผลิตในรูปแบบมีคนมารับซื้อร้อยละ 71.63 และเกษตรกรยังไม่ได้รับใบรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (จีเอพี)ร้อยละ 86.23 และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลิตมังคุดของเกษตรกรในจังหวัดพัทลุง ได้แก่ เพศของเกษตรกร การได้รับการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการผลิตมังคุด ขนาดพื้นที่ในการผลิตมังคุดและรายได้ทั้งหมดจากการจําหน่ายผลผลิต
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3050
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons