กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3127
ชื่อเรื่อง: การผลิตเห็ดฟางโรงเรือนของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเห็ดและผักปลอดสารพิษ บ้านหนองหว้า ตำบลบ้านซ่อง อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Greenhouse mushroom production by the Member of Mushroom and Safety vegetable Community Enterprise in Phanom Sarakham District of Chachoengsao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
อังคณา นาเมืองรักษ์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เห็ดฟาง--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม (2) การผลิตเห็ดฟางโรงเรือน (3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ (4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตเห็ดฟางโรงเรือน ผลการวิจัยพบว่า (1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 43.81 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์การผลิตเห็ดฟางโรงเรือนเฉลี่ย 6.57 ปี สมาชิกในครัวเรือนที่ใช้ในการผลิตเห็ดฟางเฉลี่ย 2.08 คน การจ้างแรงงานภายนอกเฉลี่ย 1.26 คน ส่วนใหญ่ประกอบเป็นอาชีพหลัก มีที่ดินสำหรับการผลิตเห็ดฟางโรงเรือนนี้เป็นของตนเอง ประกอบอาชีพทางการเกษตรอื่นร่วมกับการผลิตเห็ดฟางโรงเรือน เช่น การเลี้ยงสัตว์ รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผลผลิตเห็ดฟางเฉลี่ย 8.70 รุ่นต่อปี เฉลี่ย 265.24 กิโลกรัมต่อรุ่น รายได้จากการผลิตเห็ดฟางโรงเรือนเฉลี่ย 10,160.48 บาทต่อรุ่น ต้นทุนการผลิตเห็ดฟางโรงเรือนเฉลี่ย 6,362.61 บาทต่อรุ่น (2) ในการผลิตเห็ดฟางโรงเรือนส่วนใหญ่เป็นโรงเรือนกึ่งถาวร จำนวนโรงเรือนเฉลี่ย 3.71 โรงเรือน ใช้กากมันสำปะหลังเพาะเห็ดฟาง จัดหาก้อนเชื่อและวัสดุต่าง ๆโดยผ่านกลุ่ม ใช้น้าบ่อและใช้ระบบพ่นฝอยในการรดเห็ดฟาง โรคและแมลงที่สำคัญคือเชื่อราและวัชเห็ด เก็บเกี่ยวเห็ดฟางชวงเวลา 13.00 - 15.00 น. โดยใช้มือเด็ด ได้ขนาดดอกตูมใหญ่ เกษตรกรคัดขนาดผลผลิตเห็ดฟางบริเวณบ้าน บรรจุใส่ตะกร้าพลาสติก ขนส่งโดยรถยนต์ส่วนตัว นามาจำหน่ายที่กลุ่มเพียงอย่างเดียว สมาชิกส่วนใหญ่มีการจัดบันทึกแต่ยังไม่เป็นไปตามข้อกำหนด (3) สมาชิกมีปัญหามากที่สุดด้านปัญหาขาดูแคลนเงินทุน แหล่งน้าที่ใช้วัสดุที่ใช้เพาะ และข้อเสนอแนะจากสมาชิกคือให้หน่วยงานราชการสนับสนุนแหล่งน้า ห้องเย็นและความรู้ (4) สมาชิกมีความต้องการด้านการส่งเสริมการเกษตรมากที่สุดในด้าน การกำจัดศัตรูเห็ดฟาง โดยเจ้าหน้าที่จากทางราชการผ่านสื่อคู่มือและวิธีการส่งเสริมโดยการทัศนศึกษา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3127
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146153.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons