กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3135
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจปลูกถั่วเขียวทดแทนการทำนาปรังของเกษตรกรในจังหวัดอุทัยธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to farmers' decision making to raplace off-season rice production with Mung Bean Production in Uthai Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุกัญญา นาคประดิษฐ์, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ถั่วลิสง--การปลูก--ไทย--อุทัยธานี
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้เกี่ยวกับการปลูกถั่วเขียวทดแทนการทำนาปรังของเกษตรกร (3) สภาพทั่วไปและกระบวนการปลูกถั่วเขียวทดแทนการทำนาปรังของเกษตรกร (4) การตัดสินใจปลูกถั่วเขียวทดแทนการทำนาปรังของเกษตรกร (5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจปลูกถั่วเขียวทดแทนการทำนาปรังของเกษตรกร และ (6) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการปลูกถั่วเขียวทดแทนการทำนาปรังของเกษตรกรผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรผู้ให้สัมภาษณ์อายุเฉลี่ย 51.54 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.89 คน ประสบการณ์ในการปลูกถั่วเขียวเฉลี่ย 2.57 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่เป็นแรงงานเฉลี่ย 2.05 คน การจ้างแรงงานเฉลี่ย 5.32 คน ต้นทุนต่อไร่เฉลี่ย 1,189.88 บาท รายได้ต่อไร่เฉลี่ย 1,814.30 บาท ขนาดพื้นที่ปลูกถั่วเขียวทดแทนการทำนาปรังทั้งหมดเฉลี่ย 11.49 ไร่ (2) เกษตรกรมีความรู้มากที่สุดในเรื่อง รากถั่วเขียวสามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศทำให้ดินมธาตุไนโตรเจน ส่วนเรื่องที่มีความรู้น้อยที่สุด คือถ้าดินที่ปลูกเป็นดินด่างควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับปรุงบำรุงดินก่อนการปลูกถั่วเขียว (3) เกษตรกรทั้งหมดปลูกถั่วเขียวในฤดูแล้ง เกือบทั้งหมดใช้พันธุ์ชุัยนาท 72 เกือบครึ่งไม่มีการกำจัดวัชพืช ส่วนใหญ่ไม่มีการใส่ปุ๋ย พบโรคและแมลงระบาด และได้รับความรู้เกี่ยวกับการปลูกถั่วเขียวจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร (4) ประเด็นที่มีระดับความสำคัญต่อการตัดสินใจปลูกถั่วเขียวทดแทนการทำนาปรังของเกษตรกรในระดับมากที่สุด คือความสามารถนำไปทดลองใช้ได้ (5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจปลูกถั่วเขียวทดแทนการทำนาปรัง ได้แก่อายุและจำนวนสมาชิกในครัวเรือน (6) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการปลูกถั่วเขียวทดแทนการทำนาปรังในระดับมาก 3 ด้าน ได้แก่ ผลผลิต ปัจจัยการผลิต และการเก็บเกี่ยว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3135
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146811.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons