กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/313
ชื่อเรื่อง: โปรแกรมประยุกต์สำหรับการบริการให้ความช่วยเหลือทางด้านไอทีด้วยเทคโนโลยีออนโทโลยี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Application for IT helpdesk service with ontology technology
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรัญญา ปุณณวัฒน์
ธรรมวัตร์ อัศวรัตน์, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์
โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
โปรแกรมประยุกต์
ออนโทโลยี (การค้นคืนสารสนเทศ)
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ออกแบบและสร้างฐานความรู้สำหรับการบริการให้ความช่วยเหลือทางด้านไอทีด้วยเทคโนโลยีออนโทโลยี (2) พัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับการบริการให้ความช่วยเหลือด้านไอทีด้วยเทคโนโลยีออนโทโลยี และ (3) ทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ สำหรับการบริการให้ความช่วยเหลือด้านไอทีด้วยเทคโนโลยีออนโทโลยีวิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย (1) การศึกษาลักษณะงานของการสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศ ในสถานศึกษา (2) การรวบรวมปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้เลือกมหาวิทยาลัยราชพฤกษ์เป็นกรณีศึกษา โดยรวบรวมข้อมูลคำถามและคำตอบด้านปัญหาการใช้ไอทีจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ไอทีและจากการศึกษาบันทึกการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานตั้งแต่ พ.ศ. 2556-2560 จากนั้นนำปัญหาดังกล่าวให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่านตรวจสอบความถูกต้อง (3) การออกแบบและสร้างฐานความรู้ด้านการบริการให้ความช่วยเหลือด้านไอทีด้วยเทคโนโลยีออนโทโลยีโดยใช้โปรแกรม Protégé (4) การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับการบริการให้ความช่วยเหลือทางด้านไอที และ (5) การประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมประยุกต์ฯ โดยประเมินจากค่าความแม่นยำ และค่าความระลึกจากตัวอย่างปัญหาที่กำหนดส่วนการประเมินความพึงพอใจการใช้โปรแกรมประยุกต์ฯ จากเจ้าหน้าที่ไอทีจำนวน 7 คน โดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า (1) บันทึกการแก้ไขปัญหาของหน่วยงาน จำนวน 1,925 ชุด สามารถแบ่งได้เป็น 21 ปัญหา และจัดกลุ่มแนวทางการแก้ไขปัญหาได้เป็น 3 ด้าน คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเครือข่าย (2) โปรแกรมประยุกต์บนสมาร์ตโฟนที่พัฒนาเป็นขึ้นมำนั้น จะมีหน้าจอให้ผู้ใช้ระบุปัญหาทางด้านไอทีเพื่อสืบค้น แสดงผลเป็นความถี่ของการเกิดปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาทั้ง 3 ด้าน และ (3) การประเมินประสิทธิภาพการทำงานของโปรแกรมประยุกต์ฯ พบว่า มีค่าความแม่นยำ 96.82% และค่าความระลึก 100% สำหรับการประเมินความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมประยุกต์ฯ มีค่าเฉลี่ย 4.29 โดยประเด็นที่มีคะแนนในการประเมินความพึงพอใจสูงสุด คือ การนำโปรแกรมประยุกต์ไปใช้ในการแก้ปัญหาได้จริง มีค่าเฉลี่ย 4.43
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/313
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_157787.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons