กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3140
ชื่อเรื่อง: | การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ประเพณีพื้นบ้านจังหวัดน่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Construction of an electronic book on Folk Custom of Nan Province for Grade 6 students under Nan Primary Education Service Area Office 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณา บัวเกิด บัณฑิตา พงษ์ขันธ์, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน--การศึกษาเฉพาะกรณี หนังสืออิเล็กทรอนิกส์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) การศึกษาอิสระ--หลักสูตรและการสอน |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ประเพณีพื้นบ้านจังหวัดน่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานานเขต 2 และ (2) ตรวจสอบคุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ประเพณีพื้นบ้านจังหวัดน่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาไทย 3 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา 3 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ประเพณีพื้นบ้านจังหวัดน่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 (2) แบบตรวจสอบคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์โดยผู้เชี่ยวชาญ และ (3) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ประเพณีพื้นบ้านจังหวัดน่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ประเพณีพื้นบ้านจังหวัดน่าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ประกอบด้วย บทเรียนเกี่ยวกับข้อมูลจังหวัดน่าน คุณค่าของประเพณี ประเพณีชาวม้ง ประเพณี ชาวขมุ ประเพณีชาวถิ่น (ลัวะ) ประเพณีชาวเมี่ยน (เย้า) ประเพณีชาวมลาบรี (ตองเหลือง) แต่ละบทมีจุดประสงค์การเรียนรู้ กิจกรรมท้ายบท รวมทั้งแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และ (2) คุณภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้น จากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ทั้งด้านเนื้อหา ด้านเทคโนโลยี มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้น มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3140 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.55 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License