กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3155
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ในจังหวัดเลย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development guidelines of the young smart farmer in Loei Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นันทิยา ศรีทัดจันทา, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--เลย
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทั่วไปของเกษตรกรรุ่นใหม่ (2) ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรรุ่นใหม่ (3) ศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ (4) กระบวนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ (5) ปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ (6) แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ และ (7) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 33.94 ปี จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่าสมรสแล้ว ประสบการณ์การทำการเกษตรเฉลี่ย 10.30 ปี (2) เกษตรกรรุ่นใหม่เป็นอาสาสมัครหรือผู้นำชุมชน สมาชิกกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. และกลุ่มเกษตรกร ได้รับข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรส่วนใหญ่จากเจ้าหน้าที่รัฐ โทรทัศน์ เฟสบุ๊ค ส่วนใหญ่ถือครองที่ดินของตนเองเฉลี่ย 37.53 ไร่ ปลูกพืชมากกว่า 3 ชนิด ได้แก่ ข้าว ปลูกพืชแบบผสมผสาน และยางพารา แรงงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 3.76 คน จ้างแรงงานในท้องถิ่นเฉลี่ย 4.17 คน รายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 309,973.333 บาท รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 89,200.00 บาท ค่าใช้จ่ายอุปโภคเฉลี่ย 91,600.00 บาท ค่าใช้จ่ายภาคการเกษตรเฉลี่ย 84,933.33 บาท แหล่งสินเชื่อจากกองทุนหมู่บ้าน หนี้สินเฉลี่ย 254,625.38 บาท (3) ศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ตามตัวชี้วัดที่กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนด ระดับความสามารถมากที่สุดในเรื่องกิจกรรมช่วยเหลือชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง (4) กระบวนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ระยะที่ 1 มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก เรื่องการปลูกพืชผสมผสานในแนวทางวนเกษตรู้ระยะที่ 2 มีระดับความคิดเห็นระดับมาก เรื่องการผลิตเมล็ดันธุ์ข้าวให้ได้คุณภาพมาตรฐาน (5) ปัจจัยเงื่อนไขที่มีผลต่อการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ ระดับมากที่สุดในเรื่อง วิทยากร และระดับมากในเรื่อง ผู้รู้และต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และการเต็มใจเข้าร่วมกิจกรรม (6) แนวทางการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เห็นด้วยในระดับมากในประเด็นการสนับสนุนการสร้างเครือข่าย โดยเน้นให้คณะกรรมการเกษตรกรรุ่นใหม่ได้ทำหน้าที่ (7) ปัญหาของเกษตรกรรุ่นใหม่ ได้แก่ การลาออกจากงานประจำมาทำการเกษตรทำให้มีรายได้น้อยและไม่แน่นอน จึงท้อแท้หมดกำลังใจ ไม่สามารถกำหนดราคาผลผลิตได้เอง อีกทั้งถูกเอาเปรียบจากระบบการตลาดสินค้าเกษตร โดยมีข้อสเนอแน่ะว่า หน่วยงานภาครัฐควรมีการส่งเสริมให้มีเครือข่าย เกษตรกรรุ่นใหม่ที่เข้มแข็ง และมีระบบการตลาดสินค้าเกษตรภายในประเทศที่มีประสิทธิภาพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3155
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
147187.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons