กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/316
ชื่อเรื่อง: ต้นแบบโปรแกรมประยุกต์การจัดการฝึกปฏิบัติทางไกลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Application prototype for remote laboratory practice management via Android mobile electronic devices
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ขจิตพรรณ กฤตพลวิมาน
ธีรเดช ชาญชัยวุฒิไกร, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วิภา เจริญภัณฑารักษ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์
การศึกษาทางไกล--การสอนด้วยสื่อ
แอนดรอยด์ (ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์)
โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ในการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างต้นแบบโปรแกรมประยุกต์การจัดการฝึกปฏิบัติทางไกลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) ประเมินความเหมาะสมของต้นแบบโปรแกรม และประสิทธิภาพในการกระตุ้นการเรียนรู้ผานเอ็มเลิร์นนิง โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นสื่อกลางในการสอนหรือสาธิตวิธีดําเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาโปรแกรมประยุกต์การจัดการฝึกปฏิบัติทางไกลผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เคลื่อนที่ ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ รวมทั้งระบบการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การสนทนา การแจ้งเตือนข้อความ และระบบจัดการเนื้อหาการสอนบนเว็บเซอร์วิส เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่1) เครื่องคอมพิวเตอร์ เว็บโฮสติ้ง และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบได้แก่ โปรแกรมอิคลิป โปรแกรมแมโครมีเดียดรีมวีฟเวอร์ ภาษาที่ใช้พัฒนา คือ พีเอชพี และจาวา 2) แบบประเมินประสิทธิภาพการใช้งานของผู้ใช้งาน โดยให้กลุ่มตัวอย่างทดลองใช้งานและประเมินผล จากนั้นนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์การทํางานของโมดูลย่อยต่างๆ ด้วยวิธีการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบวาระบบตัวต้นแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมในการแก้ไขปัญหาความไม่เพียงพอของอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้สอนในการฝึกปฏิบัติทางไกลซึ่ งมีราคามูลค่าสูง ทั้งยังมีรูปแบบน่าสนใจและใช้งานสะดวก และยังมีส่วนช่วยกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความสนใจในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น โดยมีผลการประเมินในทุกด้านอยู่ในเกณฑ์ดีซึ่งมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 4.27 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.37
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/316
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_155162.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons