กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3180
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการควบคุมภายในของสหกรณ์ในโครงการบ้านมั่นคงจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for the internal control development of cooperatives in Housing Stability Project in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัตนาภรณ์ ชัยรัตนวงศ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์ในโครงการบ้านมั่นคงจังหวัดสุราษฎร์ธานี
การตรวจสอบภายใน
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของสหกรณ์ในโครงการบ้านมั่นคง 2) ประเมินการ ควบคุมภายในของสหกรณ์ในโครงการบ้านมั่นคง และ 3) แนวทางพัฒนาการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพให้แก่สหกรณ์ ในโครงการบ้านมั่นคง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สหกรณ์ในโครงการบ้านมั่นคง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวนทั้งสิ้น 9 สหกรณ์ โดยศึกษาจากผู้แทนสหกรณ์และผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่ม คือ ตัวแทนสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์ และผู้สอบ บัญชีสหกรณ์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการควบคุมภายในของสหกรณ์ รวมทั้งสิ้น 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม และการประชุมระดมสมอง สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สหกรณ์ในโครงการบ้านมั่นคง ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ขนาดใหญ่ 5 สหกรณ์ ขนาด กลาง 4 สหกรณ์ สมาชิกมากที่สุด 302 คน และน้อยที่สุด 53 คน จำนวนคณะกรรมการ 9 ถึง 15 คน มีเจ้าหน้าที่เพียง 2 สหกรณ์จำนวนปี ที่ดำเนินงาน 8 เดือน ถึง 11 ปี ทุนดำเนินงาน 0.27--4.17 ล้านบาท 2) การประเมินการควบคุมภายใน สหกรณ์พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมการควบคุมจุดอ่อนที่สำคัญได้แก่ ผู้ตรวจสอบกิจการ/ผู้ตรวจสอบภายในไม่มีความรู้และ ประสบการณ์โดยตรง ฝ่ายจัดการไม่มีหลักประกันในการทำงานอย่างเหมาะสมกับหน้าที่ ไม่มีเจ้าหน้าที่ที่เพียงพอ ไม่มีการ หมุนเวียนเจ้าหน้าที่ และไม่มีแผนพัฒนาบุคลากรประจำปี ด้านกิจกรรมควบคุมด้านการเงินการบัญชีไม่มีทะเบียนคุม ใบเสร็จรับเงิน ไม่มีการตรวจนับเงินสดในมือเปรียบเทียบกับบัญชีทุกวัน การจัดทำบัญชีไม่ถูกต้องและไม่เปรียบเทียบยอด รวมของบัญชีย่อยกับบัญชีคุมยอด ด้านธุรกิจสินเชื่อ ธุรกิจเงินรับฝาก ที่ดินอาคารและอุปกรณ์คือ การไม่บันทึกบัญชีและ จัดทำทะเบียนคุมอย่างเหมาะสม ด้านระบบข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารคือ คณะกรรมการใช้ข้อมูลทางการเงินการบัญชี ไม่ทันต่อเหตุการณ์และด้านระบบการติดตามและประเมินผลคือไม่มีรายงานการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบกิจการที่เป็นลาย ลักษณ์อักษรโดยสม่ำเสมอ 3) แนวทางพัฒนาการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพของสหกรณ์ได้แก่สหกรณ์ควรจัดให้มีการ ควบคุมภายในที่ดีตามมาตรฐานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์และที่สำคัญ คือ การพัฒนาผู้ตรวจสอบกิจการให้มีความรู้และ ประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง ฝ่ายจัดการต้องมีความรู้ความเข้าใจในงานและธุรกิจสหกรณ์ มีบุคลากรที่เพียงพอและจัดให้มี หลักประกันที่เหมาะสม ควรมีการกำหนดแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์อย่างชัดเจน ด้านการเงินควรมีการแบ่งแยก หน้าที่ให้ชัดเจน ควรจัดทำบัญชีให้เรียบร้อยเป็นปัจจุบัน ผู้จัดทำบัญชีต้องมีความรู้ด้านบัญชีและปฏิบัติงานให้ถูกต้องตาม ระเบียบนายทะเบียนสหกรณ์ ด้านธุรกิจควรมีการแบ่งแยกหน้าที่อย่างชัดเจน มีการควบคุมตรวจสอบอย่างเหมาะสม ควรมีการ แจ้งข้อมูลข่าวสารให้สมาชิกทราบและจัดทำรายงานเสนอเพื่อการบริหารและตัดสินใจตลอดจนนำเสนอที่ประชุมใหญ่ และ ควรมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและบันทึกรายงานการประชุมเป็นลายลักษณ์อักษร มีการเปรียบเทียบผลการ ดำเนินงานกับแผนงานและมีการนำไปดำเนินการแก้ไขอย่างทันเหตุการณ์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3180
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143495.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons