กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3185
ชื่อเรื่อง: การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์การเกษตรราชสาส์น จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Management according to the good governance principles of the Rajasan Agricultural Cooperative Limited, Chachoengsao Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัศมี สิงหากุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์การเกษตรราชสาส์น--การบริหาร
ธรรมรัฐ
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรราชสาส์น จำกัด จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการบริหารจัดการงานตามหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ และ 3) เสนอแนะแนวทางในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรกรราชสาส์น จำกัด ณ วันที่ 1 มกราคม 2561 จำนวน 465 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโรยามาเน่ ที่ค่าความคาดเคลื่อน 0.08 จำนวน 117 คน สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย และเจาะจงประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์ จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่ เพศชาย ร้อยละ 19.07 อายุ 31-40 ปี ร้อยละ 31.16 สถานะภาพสมรส ร้อยละ 94.88 การศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 52.14 และ ระยะเวลาการเป็นสมาชิกสหกรณ์ 11- 15 ปี ร้อยละ 94.42 2) ความคิดเห็นของสมาชิกที่มีต่อการบริหารจัดการงานตามหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.02) โดยหลักนิติธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4. 22) รองลงมาในระดับมาก ได้แก่ หลักความเสมอภาค (ค่าเฉลี่ย 4.13) หลักการมอบอำนาจ (ค่าเฉลี่ย 4.1) หลักการตอบสนอง (ค่าเฉลี่ย 4.01) หลักประสิทธิภาพ (ค่าเฉลี่ย 4.0) หลักความโปร่งใส (ค่าเฉลี่ย 3.93) หลักประสิทธิผล (ค่าเฉลี่ย 9.92) หลักภาระรับผิดชอบ (ค่าเฉลี่ย 9.3) และหลักการมีส่วนร่วม (ค่าเฉลี่ย 3.87) ตามลำดับ และสอดคล้องกับความคิดเห็นของประธานกรรมการดำเนินการสหกรณ์โดยรวมอยู่ในระดับมากหรือดีตามเกณฑ์การประเมินของกรมส่งเสริมสหกรณ์แต่อาจจะแตกต่างกันในแต่ละหลักบ้างเล็กน้อย 3) แนวทางการการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลของสหกรณ์ คือ การนำผลความคิดเห็นของสมาชิกสหกรณ์ในแต่ละหลักเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินธรรมาภิบาลของกรมส่งเสริมสหกรณ์อย่างละเอียด โดยจะต้องพัฒนาให้ในแต่ละหลักอยู่ในระดับที่สูงมากขึ้น และคณะกรรมการดำเนินการและฝ่ายจัดการจะต้องร่วมกันวิเคราะห์ประเด็นที่เป็นข้อด้อยในแต่ละหลักเพื่อนำไปสู่การพัฒนาสหกรณ์ตามหลักธรรมาภิบาลอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3185
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
163406.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons