กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3186
ชื่อเรื่อง: ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกยางพาราของคณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์กองทุนสวนยางในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cost and return on para rubber plantations of rubber Fund Cooperative Committee Members in Betong District, Yala Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธัญญรัศม์ วศวรรณวัฒน์
รุ่งนภา พราหมสละ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สหกรณ์กองทุนสวนยาง (สกย.)
ยางพารา--การปลูก--ต้นทุนและประสิทธิผล
การศึกษาอิสระ--สหกรณ์
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลทั่วไปของคณะกรรมการดำเนินการ เกี่ยวกับการปลูกยางพารา 2) ต้นทุนการปลูกยางพารา 3) ผลตอบแทนจากการปลูกยางพารา และ 4) ปัญหา อุปสรรค จากการปลูกและจำหน่ายยางพาราของคณะกรรมการดำเนินการ ประชากรที่ศึกษา คือ คณะกรรมการดำเนินการ สหกรณ์กองทุนสวนยางในอำเภอเบตง จังหวัด ยะลา จำนวน 66 คน กลุ่มตัวอย่าง 34 คน เลือกแบบเจาะจง สวนยางขนาดเล็ก (ไม่เกิน 50 ไร่) ที่มีต้นยางอายุไม่ เกิน 20 ปี เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน แยกตามวิธีขยายพันธุ์ยางเป็น 2 ประเภท คือ พันธุ์ ตาเขียวและพันธุ์ปักชำ ผลการศึกษา พบว่า 1) คณะกรรมการดำเนินการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 51 ปี จบชั้น ประถมศึกษาปี ที่ 4-6 มีพื้นที่ปลูก 10-50 ไร่ เฉลี่ยไร่ละ 62 ต้น ทุกคนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ต้นยางมีอายุ 6-20 ปี เปิดกรีดตอนอายุยาง 6-12 ปี กรีดยางในเวลากลางคืน กรีดแบบ 1วันเว้น 1 วัน 2) ต้นทุนการปลูกยางพารา ประเภท พันธุ์ตาเขียว ประกอบด้วยต้นทุนเริ่มแรกเกี่ยวกับการปลูกยางพาราเฉลี่ย 3,579 บาทต่อไร่ ต้นทุนการบำรุงรักษา ต้นยางก่อนเปิดกรีดเฉลี่ย 1,537.65 บาทต่อไร่ต่อปี และต้นทุนการบำรุงรักษาต้นยางหลังเปิดกรีดเฉลี่ย 1,700.23 บาทต่อไร่ต่อปี ส่วนประเภทพันธุ์ปักชำ ประกอบด้วยต้นทุนเริ่มแรกเกี่ยวกับการปลูกยางพาราเฉลี่ย 4,847.45 บาทต่อไร่ ต้นทุนการบำรุงรักษาต้นยางก่อนเปิดกรีดเฉลี่ย 1,267.82 บาทต่อไร่ต่อปี และต้นทุนการบำรุงรักษาต้น ยางหลังเปิดกรีดเฉลี่ย 1,828.89 บาทต่อไร่ต่อปี 3) ผลตอบแทนจากการปลูกยางพารา ประเภทพันธุ์ตาเขียวได้ ผลผลิตน้ำยางสดเฉลี่ย 10,111.18 บาทต่อไร่ต่อปี ประเภทพันธุ์ปักชำได้ผลผลิตน้ำยางสดเฉลี่ย 6,143.25 บาทต่อ ไร่ต่อปี และ 4) ปัญหา อุปสรรคที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาต้นยางพาราเป็นโรคและตายง่าย รองลงมาคือ ปัญหา ราคายางพาราตกต่ำ ปัญหาสภาพดินฟ้าอากาศ และปัญหาค่าปุ๋ยและค่ายาปราบศัตรูพืชราคาสูง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3186
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
146720.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.65 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons