Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3190
Title: | การพัฒนาธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรีย์บ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมืองปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี |
Other Titles: | Business development for Ban Dong Bang Community Enterprise of Organic Herbs in Dong Khi Lek Sub-district, Mueang Prachin Buri District, Prachin Buri Province |
Authors: | อัจฉรา โพธิ์ดี สมรักษ์ สื่อสกุล, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ภวัต เจียมจิณณวัตร |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร--วิทยานิพนธ์ วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรีย์บ้านดงบัง--การจัดการ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของวิสาหกิจชุมชน 2) การดำเนินธุรกิจและปัญหาในการดำเนินธุรกิจ 3) ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการ และ 4) แนวทางการพัฒนาธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรีย์บ้านดงบัง การดำเนินการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนและสมาชิก จำนวน 17 คน และผู้ที่เกี่ยวข้องกับวิสาหกิจชุมชน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ทำการสัมภาษณ์สมาชิกทุกคน และจัดสนทนากลุ่มตัวแทนสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 คน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง 2) การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ ผู้ที่เข้ามาซื้อสินค้าและบริการ ณ วิสาหกิจชุมชน ประมาณการเฉลี่ยเดือนละ 300 คน กำหนดขนาดตัวอย่างที่ร้อยละ 30 ของจำนวนประชากร ได้ขนาดตัวอย่าง 90 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรเกษตรอินทรีย์บ้านดงบังมีสมาชิกจำนวน 17 คน อายุเฉลี่ย 53.35 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ปลูกสมุนไพรเฉลี่ย 5.47 ไร่ มีรายได้จากวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ย 14,714.29 บาทต่อเดือน โครงสร้างองค์การของวิสาหกิจชุมชนแบ่งเป็น 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายวางแผนและการผลิต ฝ่ายการตลาด ฝ่ายขยายการเพาะปลูก และฝ่ายประชาสัมพันธ์ 2) ธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนประกอบด้วย ธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย ธุรกิจรวบรวมผลิตผล ธุรกิจแปรรูปผลิตผล และธุรกิจบริการ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ทำให้การเติบโตของธุรกิจโดยรวมชะลอตัวลง ยกเว้นธุรกิจแปรรูป โดยมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ชาชงสมุนไพรเป็นหลัก 3) ผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์ชาชงสมุนไพรด้านผลิตภัณฑ์และราคาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความพึงพอใจด้านการจัดจำหน่ายและด้านการส่งเสริมการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) แนวทางการพัฒนาธุรกิจของวิสาหกิจชุมชน กลยุทธ์ระดับองค์การ ควรใช้กลยุทธ์เติบโตในธุรกิจผลิตภัณฑ์ชาชงสมุนไพร โดยมุ่งเน้นการเพิ่มยอดขายและส่วนครองตลาดของผลิตภัณฑ์เดิม กลยุทธ์ระดับหน่วยธุรกิจ ควรใช้กลยุทธ์การแข่งขัน เพื่อมุ่งสร้างความได้เปรียบให้กับสินค้า กลยุทธ์ระดับหน้าที่ ควรเน้นการสร้างจุดเด่นของวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์ การขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ควรอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกทั้งเก่าและใหม่ในด้านกระบวนการผลิต เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพสม่ำเสมอ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3190 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License