Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3210
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเอมอร แสงดาว, 2527-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-02-14T06:42:18Z-
dc.date.available2023-02-14T06:42:18Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3210en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้และไม่ใช้รูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 2 ขั้นตอนดังนี้ 1) สร้างรูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 2) ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผลและประเมิน ด้านหลักสูตรและการสอน และการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านละ 1 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ ทดลองใช้กับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ห้องละ 35 คน ใช้เวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบประเมินตนเองตามจุดประสงค์การเรียนรู้ แบบประเมินตนเองด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินตนเองด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ (1) การตั้งเป้าหมายด้านผู้เรียน (2) การจัดการเรียนรู้ และ (3) การตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับ รูปแบบมีมาตรฐานด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด และมาตรฐานด้านความเป็นไปได้ มาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ มาตรฐานด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--วิทยาศาสตร์th_TH
dc.titleการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3th_TH
dc.title.alternativeOnline self-assessment system to develop learning achievement in the science learning area for Mathayom Suksa III studentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to 1) create the online self-assessment system to develop learning achievement in the science for Mathayom suksa 3 students, 2) compare the pretest-posttest of learning achievement through online self-assessment system, and 3) compare the learning achievement of experimental and control groups. The research was divided into 2 phases. In phase I, the online self-assessment to promote learning achievement in Science for Mattayomsuksa 3 was created using two steps: 1) reviewing related documents and research for creating the online self-assessment with a quality assessment of the online self-assessment as a research tool, and 2) validating the online self-assessment by experts in measurement and evaluation, curriculum and instruction and science teaching. The data were analyzed using mean and standard deviation. In phase II, the 4-week pilot study of the online self-assessment with experimental and control groups of Matthayomsuksa 3 with 35 students in each group was carried out. The research tools were the pretest-posttest of science achievement achievement, self-assessments of scientific process and scientific attitudes. The data were analyzed using mean, standard deviation and t-test. The findings revealed that 1) the online self-assessment to promote learning achievement in science for Mattayomsuksa 3 consisted of three components including goal setting towards students, learning management, and evaluation and feedback. The model had the highest level of accuracy standard, while feasibility, utility and propriety standards were at a high level, 2) the learning achievement after using the online self-evaluation was significantly higher than that before using the online self-evaluation at .01 and 3) the posttest scores of the experimental group was significantly higher than that of the control group at .01en_US
dc.contributor.coadvisorวรรณ์ดี แสงประทีปทองth_TH
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons