กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3210
ชื่อเรื่อง: การประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The online self-assessment system to develop learning achievement in the science learning area for Mathayom Suksa III students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศศิธร กาญจนสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอมอร แสงดาว, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน--วิทยาศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ใช้และไม่ใช้รูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 2 ขั้นตอนดังนี้ 1) สร้างรูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 2) ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผลและประเมิน ด้านหลักสูตรและการสอน และการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้านละ 1 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ ทดลองใช้กับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ห้องละ 35 คน ใช้เวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบประเมินตนเองตามจุดประสงค์การเรียนรู้ แบบประเมินตนเองด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินตนเองด้านเจตคติทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ (1) การตั้งเป้าหมายด้านผู้เรียน (2) การจัดการเรียนรู้ และ (3) การตรวจสอบและให้ข้อมูลย้อนกลับ รูปแบบมีมาตรฐานด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด และมาตรฐานด้านความเป็นไปได้ มาตรฐานด้านความเป็นประโยชน์ มาตรฐานด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้รูปแบบการประเมินตนเองด้วยระบบออนไลน์ พบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3210
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons