กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3274
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between organizational climate and conflict management of school administrators under the Secondary Educational Service Area Office Mukdahan
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เก็จกนก เอื้อวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐพงษ์ จันปุ่ม, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารความขัดแย้ง--ไทย--มุกดาหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบรรยากาศองค์การในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร (2) ศึกษาการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การในสถานศึกษากับการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 265 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเคร็จและมอร์แกน จากนั้นใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับบรรยากาศองค์การในสถานศึกษาและการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 และ .85 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) บรรยากาศองค์การในสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) พฤติกรรมการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับการบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในทางบวกในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า บรรยากาศองค์การมีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กับการบริหารจัดการความขัดแย้งแบบร่วมมือ แบบประนีประนอม และแบบยอมให้ในระดับค่อนข้างสูง และมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับการบริหารจัดการความขัดแย้งแบบหลีกเลี่ยง และแบบเอาชนะในระดับค่อนข้างต่ำและระดับต่ำ ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3274
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons