กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3277
ชื่อเรื่อง: ความฉลาดรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Digital intelligence of schools administrators under the Secondary Educational Service Area Office Chaiyaphum
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โสภนา สุดสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เจริญ ราคาแก้ว, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้บริหารโรงเรียน--เทคโนโลยี.--ไทย--ชัยภูมิ
การรู้จักใช้เทคโนโลยี
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความฉลาดรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ 2) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาความฉลาดรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชัยภูมิ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 86 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับความฉลาดรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ความฉลาดดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้ การเข้าถึงและตระหนักดิจิทัล การใช้งานเครื่องมือด้านดิจิทัลหรือแอปพลิเคชันขั้นต้นสําหรับการทํางาน การประยุกต์ใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการทำงาน การผลิตชุดข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะ การใช้โปรแกรมดิจิทัลเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานประจำ การใช้ข้อมูลระหว่างหน่วยงาน และการใช้ดิจิทัลเพื่อการทํางานร่วมกัน 2) ผลการเปรียบเทียบความฉลาดรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาพบว่า (1) ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีเพศแตกต่างกัน มีความฉลาดดิจิทัล โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน (2) ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอายุแตกต่างกัน มีความฉลาดรู้ดิจิทัล โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการประยุกต์ใช้เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการทำงานไม่แตกต่างกัน โดยผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30 ปี มีความฉลาดรู้ดิจิทัลมากกว่าผู้บริหารสถานศึกษาที่มีอายุ 51-60 ปี (3) ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความฉลาดรู้ดิจิทัล โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 0-10 ปี มีความฉลาดรู้ดิจิทัลมากกว่าผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 21-30 ปี และ 31 ปีขึ้นไป และ 3) แนวทางการพัฒนาความฉลาดรู้ดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล (2) หน่วยงานต้นสังกัดหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้รูปแบบดิจิทัลให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง และ (3) หน่วยงานของรัฐหรือกระทรวงศึกษาธิการควรพัฒนาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับทุกหน่วยงานอย่างครอบคลุมและทั่วถึง รวมถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3277
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม29.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons