กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3283
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาและการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 6
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between the instructional leadership of school administrators and the performance of teachers in schools under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok 1, Group 6
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: โสภนา สุดสมบูรณ์
พรธารา แสงศรี, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับอาจารย์ใหญ่
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 2) ศึกษาระดับสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่ม 6 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาและการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 6 จำนวน 255 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณ ทาโร่ ยามาเน่ แล้วสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาและการปฏิบัติงานของครู มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 และ 0.99 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการยกระดับการพัฒนาวิชาชีพเพื่อเสริมสร้างความสามารถครู ด้านการประเมินและกำกับติดตามการเรียนการสอน ด้านการส่งเสริมการสื่อสารภายนอกเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์เชิงบวก ด้านการปรับหลักสูตรให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยง และด้านการกำหนดเป้าประสงค์และทิศทางการพัฒนา 2) การปฏิบัติงานของครูในศึกษาโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ครู ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเรียนการสอนของผู้บริหารสถานศึกษาและการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับ ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3283
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons