กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3317
ชื่อเรื่อง: ความรับผิดชอบของคณะรัฐบาลรักษาการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Caretaker government responsibility
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรเดช มโนลีหกุล
ชัยยันต์ คำป้อ, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความรับผิดชอบของรัฐมนตรี
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา แนวคิด ทฤษฎีและที่มาเกี่ยวกับความรับผิดของคณะรัฐบาลรักษาการ (2) ศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของคณะรัฐบาลรักษาการภายใต้บริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (3) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดของคณะรัฐบาลรักษาการของประเทศไทย ประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศส (4) เพื่อเสนอแนวทางในการปรับปรุงพระราชบัญญัติหรือกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆ อันจะนำมาซึ่งการปรับปรุงเกี่ยวกับความรับผิดของคณะรัฐบาลรักษาการของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตำรา หนังสือ และตัวบทกฎหมายของไทยและต่างประเทศ บทความ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานการวิจัย วารสารเอกสารต่าง ๆ พระราชบัญญัติหรือกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ต่างๆ รวมทั้งข้อมูล จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดของคณะรัฐบาลรักษาการผลการศึกษาพบว่า (1) สถานะของคณะรัฐมนตรี และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะสิ้นสุดลง เมื่อมีการประกาศพระราชกฤษฎีกายุบสภาในราชกิจจานุเบกษา และเพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างในการบริหารราชการแผ่นดินจึงกำหนดให้คณะรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีรักษาการ ทำหน้าที่ต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่ (2) เมื่อรัฐบาลรักษาการบริหารประเทศแล้วเกิดความเสียหาย หากพ้นจากตำแหน่งจะส่งผลให้สภาพ้นจากหน้าที่รักษาการ จึงไม่มีองค์กรใดที่จะมาตรวจสอบการทำหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีรักษาการ (3) สำหรับในประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติใดในรัฐธรรมนูญที่กำหนดถึงความรับผิดชอบของคณะรัฐมนตรีรักษาการต่อองค์กรใด แต่รัฐสภาก็ยังคงต้องควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีรักษาการไว้ และในประเทศอังกฤษจะต้องรับผิดชอบในการบริหารงานราชการแผ่นดินต่อสภาสามัญ อันเป็นการความรับผิดชอบโดยนิตินัย ส่วนในทางพฤตินัยคณะรัฐมนตรีอังกฤษจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง สำหรับในประเทศฝรั่งเศส รัฐบาลสามารถถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบในญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาล หรือไม่เห็นชอบการเมืองทั่วไปของรัฐบาล นายกรัฐมนตรีจะต้องแสดงความจำนงลาออกแผนการดำเนินงาน หรือนโยบายจากรัฐบาลต่อประธานาธิบดี (4) ผู้ศึกษาเห็นควรจำกัดการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีรักษาการ และกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรีรักษาการ เพื่อปรับปรุง และกำหนดขอบเขตความรับผิดของคณะรัฐบาลรักษาการของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3317
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons