กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3329
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการใช้ลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมในงานวรรณกรรม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problems of copyright fair use in literary work |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิมาน กฤตพลวิมาน เอกนิติ ชำนิหัส, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี ลิขสิทธิ์--วรรณกรรม การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกฎหมายการใช้ลิขสิทธิ์ โดยชอบธรรมในงานวรรณกรรม (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมในงานวรรณกรรมของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย (3) ศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการใช้ลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมในงานวรรณกรรมของประเทศไทย (4) เสนอแนวทางในการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมในงานวรรณกรรมของประเทศไทย การค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากตำรา หนังสือ วิทยานิพนธ์ วารสารเอกสารต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูล ตัวบทกฎหมาย อนุสัญญาและข้อตกลงระหว่างไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า (1) ลิขสิทธิ์เป็นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างสรรค์ แต่จะได้รับการคุ้มครองหรือไม่นั้นจะต้องถูกกําหนดไว้ในกฎหมาย ผู้สร้างสรรค์ย่อมมีสิทธิ์ที่จะหวงแหน หรือป้องกันไม่ให้บุคคลใดนำงานของตนไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาต (2) กฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย พบว่า สาระสำคัญของการใช้ลิขสิทธิ์โดยชอบธรรม ได้แก่ การกระทำที่ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์ และไม่กระทบถึงสิทธิ์ของเจ้าของเกินสมควร ส่วนกฎหมายในประเทศอังกฤษ และ ออสเตรเลีย ได้บัญญัติถึงการกระทำที่ถือว่าเป็นการใช้ลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมไว้ เป็นกรณีไป โดยระบุขอบเขต ปริมาณ และลักษณะการใช้งานไว้ แต่ไม่ได้บัญญัติการใช้ลิขสิทธิ์ โดยชอบธรรมเป็นกรณีทั่วไปไว้ ซึ่งต่างจากกฎหมายสหรัฐอเมริกา ซึ่งนอกจากจะบัญญัติวัตถุประสงค์และลักษณะการใช้ลิขสิทธิ์แล้วนั้น ยังบัญญัติขยายความให้ชัดเจนออกไปอีกในเรื่องของสภาพ ปริมาณงาน เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนในภาพรวมของงานอันมีลิขสิทธิ์ และผลกระทบต่อตลาดและมูลค่าของงานอันมีลิขสิทธิ์นั้นอีกด้วย (3) ปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยที่พบ ได้แก่ 1) ขาดความชัดเจนในการตีความเพื่อกำหนดขอบเขตของการใช้ลิขสิทธิ์โดยชอบธรรม 2) ไม่มีหลักเกณฑ์เฉพาะเกี่ยวกับการใช้ลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมในงานวรรณกรรม 3) ไม่มีการกำหนดปริมาณการใช้งานลิขสิทธิ์โดยชอบธรรมในงานวรรณกรรม 4) ไม่มีหลักเกณฑ์เฉพาะที่ใช้ทั่วไปในการความว่าการกระทําแก่งานอันมีลิขสิทธิ์นั้นไม่ขัดต่อการใช้ลิขสิทธิ์โดยชอบธรรม (4) ข้อเสนอแนะได้แก่ 1) การกําหนดสาระสําคัญของวัตถุประสงค์ ลักษณะการใช้งาน สภาพของงาน ปริมาณงาน นำมาเทียบเป็นสัดส่วนกับภาพรวมของงานอันมีลิขสิทธิ์ และผลกระทบต่อตลาดมูลค่าของงานอันมีลิขสิทธิ์ 2) หากปริมาณงานที่นํามาใช้เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนกับภาพรวมของงานอันมีลิขสิทธิ์ ไม่กระทบต่อสิทธิ์ของเจ้าของตามสมควรและได้ปฏิบัติตามมาตรา 32 วรรคหนึ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 3) การกระทำแต่งานวรรณกรรมรวมถึงสิ่งตีพิมพ์ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ยกเว้นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในปริมาณไม่เกินร้อยละ 10 4) ควรจัดทำคู่มือเพื่อให้หลักเกณฑ์ในการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม และมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3329 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.73 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License