กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/333
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวารสารศาสตร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of information literacy skills for Undergraduate students in Journalism
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชุติมา สัจจานันท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จันทิมา เขียวแก้ว, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิมพ์รำไพ เปรมสมิิทธ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงแก้ว เงินพูลทรัพย์, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนามาตรฐานการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวารสารศาสตร์ ในประเทศไทย (2) ศึกษาระดับทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา วารสารศาสตร์และ (3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขา วารสารศาสตร์ วิธีการวิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิเคราะห์เอกสารการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มที่ 1 ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการรู้สารสนเทศและวารสารศาสตร์จากประเทศไทย ญี่ปุ่ น และออสเตรเลีย จ านวน 44 คน การส่งแบบสอบถามความคิดเห็นผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มที่ 2 อาจารย์ นักวิชาการ และนักวิชาชีพสาขาบรรณารักษศาสตร์/ สารสนเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์/นิเทศศาสตร์ จ านวน 38 คน การศึกษาระดับทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีสาขาวารสารศาสตร์ชั้นปี ที่ 2 – 4 สุ่มแบบหลายขั้นตอนจ านวน 409 คน และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักกลุ่มที่ 3 รองคณบดีฝ่ ายวิชาการ อาจารย์ประจ าหลักสูตรวารสารศาสตร์ ผู้อำนวยการ/หัวหน้าห้องสมุด/ บรรณารักษ์ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา และผู้บริหารสมาคมวิชาชีพวารสารศาสตร์จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยได้แก่แบบบันทึก แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ การวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) มาตรฐานการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวารสารศาสตร์ ประกอบด้วย 6 มาตรฐาน 13 สมรรถนะหลัก และ 32 สมรรถนะย่อย (2)นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวารสารศาสตร์มี ทักษะการรู้สารสนเทศโดยรวมในระดับปานกลาง มาตรฐานที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือมาตรฐานที่ 1 การกำาหนดความต้องการสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้ โดยมีทักษะการรู้สารสนเทศในระดับปานกลาง และมาตรฐานที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดคือมาตรฐานที่ 5 การใช้สารสนเทศเพื่อการผลิตและนำาเสนอเรื่องโดยยึดหลักจริยธรรมและ จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ โดยมีทักษะการรู้สารสนเทศในระดับต่ำ และ(3) แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวารสารศาสตร์มีชื่อว่า “พีซีไอโมเดล” ประกอบด้วยการบริหารแบบมีส่วนร่วม ความร่วมมือ และกลยุทธ์เชิงบูรณาการการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/333
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156503.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.4 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons