กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3397
ชื่อเรื่อง: การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The use of Thai wisdom in teaching and learning science instruction at the lower secondary level by schools under Nakhon Ratchasima Provincial Administration Organization
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สมมาศ ครุสาตะ, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) ภูมิปัญญาชาวบ้าน
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2555 จ านวน 195 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า (1) ด้านประเภทของภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้อยู่ในระดับปานกลาง โดยครูนำมาใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2) ด้านเนื้อหาวิชาที่นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้อยู่ในระดับมาก โดยครูนำมาใช้กับสาระที่ 2 ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (3) ด้านรูปแบบการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียน การสอนวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง โดยครูนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ (4) ด้านขั้นตอนการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับปานกลาง โดยขั้นวางแผนการใช้ควรมีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเกี่ยวกับแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ขั้นเตรียมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นควรมีการเตรียมสื่อ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ขั้นดำเนินการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ควรศึกษาแผนกิจกรรมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่วนแนวทางการประเมินผล ควรกำหนดให้ครูเป็นผู้ประเมิน โดยเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความคิดเห็น (5) ด้านบทบาทของบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้บริหารควรสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้สอนควรมีการสำรวจแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น และนักเรียนควรมีส่วนร่วมในการสำรวจแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น (6) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับปานกลาง โดยเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักในคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น และ (7) ด้านปัญหาและอุปสรรคในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับปานกลาง โดยครูมีปัญหาด้านการกำหนดการสอนให้สัมพันธ์กับการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอน ปัญหาเวลาในการสอนของครูวิทยาศาสตร์ไม่เพียงพอ และปัญหาความปลอดภัยของนักเรียนในการไปศึกษายังแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3397
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_135844.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons