Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/342
Title: สิทธิเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนในที่สาธารณะ
Other Titles: People's right and freedom of assembly
Authors: ภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กชกร เขียวอรุณ, 2513- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
สิทธิเสรีภาพ
สิทธิมนุษยชน -- แง่การเมือง
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาเรื่อง สิทธิเสรีภาพการชุมนุมของประชาชนในที่สาธารณะนั้น มุ่งที่จะศึกษาเรื่องสิทธิ เสรีภาพการชุมนุมของประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะด้วยการชุมนุมที่ผ่านมาในระยะ 6-7 ปีมานี่ เป็นการชุมนุมที่สร้างความสับสน ไม่เข้าใจแก่ประชาชนทั่วไป เพราะเป็นการชุมนุมที่ละเมิดกฎหมายสร้างความเดือดร้อน โดยเน้นศึกษาที่การใช้สิทธิเสรีภาพการชุมนุมในที่สาธารณะกฏหมายที่เกี่ยวของกับการชุมนุม เสรีภาพการชุมนุม ทั้งในประเทศไทยและของต่างประเทศเพื่อมาวิเคราะห์หาจุดร่วมสําหรับการร่างพระราชบญญัติที่จะมาจัดการกับการชุมนุมในประเทศไทย การศึกษานั้น มีกระบวนการโดยการสืบค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่นวิทยานิพนธ์งานวิจัย บทความ หลักกฎหมาย เพื่อมาศึกษาและวิเคราะห์ออกมาเป็นความคิดที่เราต้องการ โดยมีสมมุติฐานของการศึกษาเป็นหลักเพื่อเป็นแนวทางในการสรุปหาความรู้ใหม่ที่เป็นบทสรุปของวิทยานิพนธ์ จากการศึกษาข้อมูลนั้นสรุปได้ว่าสิทธิเสรีภาพการชุมนุมในที่สาธารณะของประชาชนไทยมีบัญญัติในรัฐธรรมนูญทุกฉบับล่าสุดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติไว้ในมาตราที่ 63 ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อคุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใชกฎอัยการศึก” ในเจตนารมณ์ของผู้ร่างกฎหมายต้องการให้มีการชุมนุมโดยสงบ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร ชุมนุมได้เสรีตามที่ต้องการ แต่ประชาชนทั่วไปกลับสร้างความเดือดร้อนไปทั่ว ด้วยการชุมนุมที่ละเมิดกฎหมาย เช่น การปิดถนน การยึดสถานที่ราชการการเผาศนย์การค้า เป็นต้น การใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการชุมนุมในที่สาธารณะมีปัญหาเมื่่อไม่มีกฎหมายเฉพาะ ที่จะมาจัดการกับการชุมนุมของประชาชน เจ้าหน้าที่ต่างก็ใช้กฎหมายคนละฉบับเกิดปัญหาความซ้ำซ้อนทางการใช้กฎหมาย แต่ เมื่อมีการเสนอร่างพระราชบญญัติการจัดการการชุมนุมสาธารณะก็ติดขัดปัญหาความล่าช้า และความไม่เห็นด้วยต่าง ๆ ตามมาการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนไทยจึงเป็นการใช้ตามรัฐธรรมนูญที่ตีความเข้าข้างตนเอง ใช้สิทธิจนไปละเมิดและสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนทั่วไป ผู้ที่มีอํานาจต่างก็สนับสนุนการใช้สิทธิที่ละเมิดกฎหมายถ้าการชุมนุมนั้น สนับสนุนตนเองและถ้าการชุมนุมมาเพื่อค้านตนเองก็จะใช้กฎหมายต่างๆ เพื่อยุติการชุมนุมและผลจึงตกมาที่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบมีการฟ้องร้องนำคดีขึ้นสู่ศาลมาก ก่อให้เกิดกระแสการไม่เข้าใจในสิทธิเสรีภาพการปฏิบัติการของประชาชนชาวไทยที่ต้องการใช้สิทธิเสรีภาพการชุมนุมในที่สาธารณะในปัจจุบัน
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/342
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib129196.pdfเอกสารฉบับเต็ม25.96 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons