กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3424
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรในอำเภอสระโบสถ์ จังหวัดลพบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs in cassava production of farmers in Sabot District of Lopburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปิยะธิดา อ่อนพันธ์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มันสำปะหลัง--การปลูก
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในประเด็น (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตมันสำปะหลัง (3) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตมันสำปะหลัง (4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลัง และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตมันสำปะหลัง ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกร เกินกว่าครึ่งเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 50 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ประสบการณ์การผลิตมันสำปะหลังเฉลี่ย 6 ปี รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตมันสำปะหลังระดับปานกลางจาก 2 ช่องทาง คือจากสื่อบุคคลและสื่อมวลชน และรับรู้ข่าวสารระดับน้อยที่สุดจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (2) เกษตรกรเกือบทั้งหมดมีการเตรียมดินและการบำรุงดิน การกำหนดระยะปลูก การเตรียมท่อนพันธุ์และวิธีการปลูก การใส่ปุ๋ย การดูแลรักษา และการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว (3) เกษตรกรเกินกว่าครึ่งมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตมันสำปะหลังอยู่ในระดับมาก โดยเกษตรกรเกือบทั้งหมด มีความรู้ความเข้าใจในประเด็นการปลูกมันสำปะหลังควรทำการยกร่องแปลงปลูกเพื่อการระบายน้ำที่ดี และในประเด็นหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตหัวมันสด ควรรีบส่งจำหน่ายทันที่ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 4 วัน เพราะผลผลิตจะเกิดการเน่าเสียได้ (4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการเกษตรในระดับมากที่สุดใน 3 ประเด็น ได้แก่ ความต้องการการสนับสนุนต้นพันธุ์ดีจากภาครัฐ ความต้องการการสนับสนุนปัจจัยการผลิต และความต้องการเจ้าหน้าที่ติดตามให้คำแนะนำอย่างสม่ำเสมอ รองลงมามีความต้องการการส่งเสรีระดบบัมากใน 2 ประเด็น ได้แก่ ความต้องการด้านการตลาด และความรู้ในการผลิตมันสำปะหลัง (5) เกษตรกรเกือบทั้งหมดมีปัญหาในเรื่องความผันผวนของราคาผลผลิต รองลงมาคือราคาปุ๋ย และวัสดุบำรุงดินมีราคาสูง เกษตรกรเกือบครึ่งหนึ่ง เสนอแน่ะว่า ภาครัฐควรมีมาตรการในการประกันราคามันสำปะหลังให้มีความคงที่โดยไม่เกิดความผันผวนของราคาผลผลิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3424
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148018.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons