กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3428
ชื่อเรื่อง: การผลิตสตรอเบอรี่โดยการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strawberry production adhering to good agricultural practice by farmers in Samoeng District of Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สัญชัย ปัญจะเรือง, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
สตรอเบอรี่--การปลูก
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคลทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่ (2) การผลิตและการตลาดสตรอเบอรี่โดยใช้การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) (3) ความรู้แหล่งความรู้และความคิดเห็นของเกษตรกรผู้ปลูกสตรอเบอรี่โดยใช้การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) (4) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการผลิตสตรอเบอรี่โดยใช้การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตสตรอเบอรี่โดยใช้การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรเกือบทั้งหมดเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 42.44 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มากที่สุด จำนวนสมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4.23 คน ประสบการณ์ปลูกสตรอเบอรี่เฉลี่ย 9.80 ปี พื้นที่เกษตรเฉลี่ย 4.73 ไร่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักปลูกสตรอเบอรี่ พื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่เฉลี่ย 2.66 ไร่ แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.62 คน หนึ่งในสามใช้แหล่งเงินทุนจาก ธกส. รายได้จากการขายสตรอเบอรี่ต่อปีเฉลี่ย 208,877.50 บาท รายได้จากการขายสตรอเบอรี่ต่อไร่เฉลี่ย 279,140.83 บาท รายได้จากการขายพืชอื่นต่อปีเฉลี่ย 60,203.49 บาท รายจ่ายจากการปลูกสตรอเบอรี่ต่อไร่เฉลี่ย 30,375.83บาท รายจ่ายจากการปลูกพืชอื่นต่อปีเฉลี่ย 21,298.85 บาท รายจ่ายครัวเรือนนอกภาคการเกษตรต่อปีเฉลี่ย 71,922.50 บาท พบว่า ระยะเวลาในการรวมกลุ่มเฉลี่ย 7.35 ปี (2) ส่วนมากปลูกสตรอเบอรี่พันธุ์ 329 มากกว่าครึ่งปลูกบนที่เนิน หนึ่งในสามใช้ใบตองตึงเป็นวัสดุคลุมแปลง เกือบทั้งหมดใช้ปุ๋ยเคมี (3) ระดับความรู้อยู่ในระดับสูง แหล่งความรู้ของเกษตรกรอยู่ในระดับน้อย (4) เกษตรกรส่วนใหญ่ยอมรับ GAP ในเชิงความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก ส่วนใหญ่การยอมรับ GAP เชิงปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (5) ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง คือปัญหาแหล่งน้ำไม่เพียงพอข้อเสนอแนะ ต้องการให้มีน้ำพอใช้ตลอดทั้งปี โดยการขุดเจาะบ่อบาดาล หรือการสนับสนุนบ่อเก็บน้ำจากหน่วยงานรัฐ (6) ตัวแปรอิสระ ความรู้ความเข้าใจระยะเวลาในการร่วมกลุ่ม พื้นที่ปลูกสตรอเบอรี่ และแหล่งเรียนรู้ บุคคล/กลุ่ม/มวลชนมีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามการผลิตสตรอเบอรี่โดยการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2557
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3428
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148020.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons