กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/343
ชื่อเรื่อง: | การบริหารความเสี่ยงและการปรับปรุงคุณภาพระบบกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาตามหลักการโคบิต 5 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Risk management and quality improvement for e-studentloan system based on COBIT5 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วฤษาย์ ร่มสายหยุด สุภัทร ปกาสิทธิ์, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พันธุ์ปิติ เปี่ยมสง่า |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร--วิทยานิพนธ์ การบริหารความเสี่ยง กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาแบบจําลองสถานการณ์ความเสี่ยงของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเชื่อมโยงเข้ากับกระบวนการบริหารความเสี่ยงโคบิต 5 (2) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศของกองทุนฯ ตามกระบวนการบริหารความเสี่ยงโคบิต 5 และ (3) เพื่อทดสอบความน่าเชื่อถือของแบบจําลอง สถาณการณ์ความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นและประเมินผลสถานการณ์ความเสี่ยงจากข้อมูลจริง การดําเนินงานวิจัยประกอบด้วย (1) ศึกษาความเสี่ยงกองทุนเพื่อสร้างแบบจําลองความเสี่ยงกองทุน (2) วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงกองทุน (3) ออกแบบสถานการณ์ความเสี่ยงกองทุนและสถานการณ์อื่นที่เกี่ยวข้องจากการวิเคราะห์ความเสี่ยงกองทุน (4) เพื่อทดสอบกับรูปแบบตรวจสอบและวัดความสามารถกระบวนการกำกับดูแลความเสี่ยงและกระบวนการบริหารความเสี่ยงตามหลักการโคบิต 5 (Process) แบ่งเป็น กระบวนการกำกับดูแลความเสี่ยง (EDM03) 3 กระบวนการ และกระบวนการบริหารความเสี่ยง (APO12) 6 กระบวนการ รวม 9 กระบวนการ (5) ทดสอบแบบจําลองสถานการณ์การความเสี่ยงกับรูปแบบระบบตรวจสอบและวัดความสามารถของการบริหารความเสี่ยงตามหลักการโคบิต 5 (6) ผลผลิตกระบวนการบริหารความเสี่ยงกองทุนตามหลักการบริหารความเสี่ยงโคบิต 5 และ (7) ประเมินผลสถานการณ์ความเสี่ยงกองทุนที่ดําเนินตามขั้นตอนหลักการโคบิต 5 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการจัดการความเสี่ยงของกองทุนฯ อยู่บนพื้นฐานของหลักการโคบิต 5 ได้ดําเนินการบนพื้นฐานของหลักการโคบิต 5 มีผลความสําเร็จเป็น 0.02% และมีความเชื่อมั่น 95% ในหลักการโคบิต 5 ในรูปแบบกระบวนการวัดความสามารถ ผลลัพธ์ที่ได้เปรียบเทียบกับธนาคารกสิกรไทยในกระบวนการความเสี่ยงเป็น 67.35% อย่างไรก็ตาม กองทุนฯ ควรดําเนินกิจกรรมและกระบวนการขึ้นอยู่กบกระบวนการความเสี่ยง ตาม หลักการโคบิต 5 ตามระเบียบวิธีวิจัยสําหรับการเพิ่มประสิทธิภาพและบูรณาการการดําเนินงานของกองทุนฯ และไอที |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/343 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Science Tech - Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_153215.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License