กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3450
ชื่อเรื่อง: การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The management of primary school curriculum under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Education Service Area 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา ภัสสรศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มานิตย์ เต็งมีศรี, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
หลักสูตร--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 2 ตามขนาดสถานศึกษา (2) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหา การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 136 คน ครูวิชาการ โรงเรียนจำนวน 136 คน รวม 272 คนได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโดยภาพรวมทั้ง 4 ขั้นตอน มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอนคือ การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา การดำเนินการระดับชั้นเรียน การส่งเสริมสนับสนุนระดับสถานศึกษา และการกำกับ ดูแล คุณภาพ ระดับสถานศึกษา ทุกขั้นตอนมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ในทุก ขนาดของสถานศึกษา สำหรับ ปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาพบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำหลักสูตร ไม่เปลี่ยนแปลงกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตร ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถใน การดำเนินการขาด งบประมาณที่เพียงพอและขาดการนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตร และ (2) แนวทางการแก้ไขปัญหาคือ ควรอบรมครูให้มีความรู้ในการจัดทำหลักสูตร จัดหาวิทยากรที่ เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอ และมีระบบการนิเทศติดตามผลการใช้หลักสูตรที่ชัดเจน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3450
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_125344.pdf12.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons