กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3497
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการลงโทษวินัยการเงินการคลังตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problems on penalty of state fiscal and financial disciplines under Organic Act on State Audit B.E.2561
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีรัตน์ ประจนปัจจนึก, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐพงษ์ กันทรี, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การคลัง--การสอบบัญชี
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หรือหลักเกณฑ์พื้นฐานทางกฎหมายมหาชนที่เกี่ยวกับกฎหมายวินัยการเงินการคลัง (2) ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับวินัยการเงินการคลังของไทยและวิเคราะห์เปรียบเทียบกับของฝรั่งเศส (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการลงโทษทางปกครอง (4) รวบรวมและเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหากฎหมายวินัยการเงินการคลังของไทย เพื่อใช้เป็นมาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการทุจริตและการก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐอย่างมีประสิทธิภาพอย่างที่ควร การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากที่เกี่ยวข้องกับการลงโทษวินัยการเงินการคลัง เช่น หนังสือและตำราทั้งของไทยและต่างประเทศ วิทยานิพนธ์ เอกสารทางวิชาการ รวมทั้งเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง และทำการศึกษาพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 และระเบียบกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติฯ ดังกล่าว เพื่อเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายวินัยการเงินการคลังของต่างประเทศและนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การลงโทษวินัยการเงินการคลังของไทยตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. 2561 ไม่สอดคล้องกับหลักวินัยการเงินการคลังของฝรั่งเศส ก่อให้เกิดปัญหาในการลงโทษตามมาหลายประการ เช่น ปัญหาเงื่อนไขในการลงโทษปัญหาการกำหนดความผิดวินัยการเงินการคลังของรัฐต้องเป็นกรณีกระทำโดยจงใจ ปัญหาการห้ามมิให้ลงโทษ และปัญหาอายุความ ทั้งนี้ ได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อให้มาตรการความผิดวินัยการเงินการคลังของรัฐมีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นกลไกทางกฎหมายในการป้องกันการทุจริตและการก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3497
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม33.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons