กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/355
ชื่อเรื่อง: การปรับเปลี่ยนธุรกิจยุคดิจิทัลด้านบริหารงานคุณภาพและบริการไอทีของอุตสาหกรรมเซรามิกไทยด้วย ISO 9001 และ ISO 20000
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Digital transformation in quality management and IT service management for Thai ceramic industry with ISO 9001 and ISO 20000
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิภา เจริญภัณฑารักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สันติพัฒน์ อรุณธารี, อาจารย์ที่ปรึกษา
จิรพรรณ ธาตุรักษ์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. -- แขนงวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร -- วิทยานิพนธ์
อุตสาหกรรมเซรามิก -- ไทย -- การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างแนวปฏิบัติด้านบริหารคุณภาพและบริการไอทีของ อุตสาหกรรมเซรามิกของไทยด้วยมาตรฐาน ISO 9001:2015 และISO 20000:2005 (2) พัฒนาระบบเว็บเซอร์วิสเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจยุคดิจิทัลของอุตสาหกรรมเซรามิกไทยด้านการบริหารคุณภาพและบริการไอทีตามแนวปฏิบัติที่ได้สร้างขึ้น และ (3) ประเมินประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้นในด้านเวลา ต้นทุน และ ความพึงพอใจ โดยเปรียบเทียบผลก่อนหน้าและภายหลังการใช้ระบบที่พัฒนาขึ้น วิธีการวิจัย (1) ศึกษามาตรฐาน ISO9001:2015, ISO 20000:2005,ITIL V.3 และโครงสร้างงานไอทีขององค์กรเซรามิกของไทย (2) วิเคราะห์ความสอดคล้องของมาตรฐานที่ศึกษา (3) สร้างแนวการปฏิบัติที่ดีจากมาตรฐานที่ศึกษา และ (4) พัฒนาเว็บเซอร์วิสเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลของ อุตสาหกรรมเซรามิกไทยด้านการบริหารคุณภาพและบริการไอที (5) ประเมินประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้นมา โดยเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการใช้งานที่พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า (1) มาตรฐานที่ได้ทำการศึกษาและสร้างขึ้นเป็นแนวปฏิบัตินั้นมีความสอดคล้องกัน โดยมาตรฐาน ISO 20000:2005 กับ ITIL Version 3 มีค่าความสอดคล้องร้อยละ 100และ มาตรฐาน ISO20000:2005 กับ ISO9001:2015 มีค่าความสอดคล้องร้อยละ 72.31 (2) ได้เว็บเซอร์วิสตามแนวปฏิบัติที่สร้าง และ (3) การประเมินประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจในอุตสาหกรรมเซรามิกไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล ด้านต้นทุนมีค่าใช้จ่ายลดลง ด้านเวลาสามารถให้บริการรวดเร็วขึ้น และด้านความพึงพอใจของผู้รับบริการมีเพิ่มขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/355
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Science Tech - Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_159708.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons