กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3587
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของผุ้ประกอบการที่มีต่อการตรวจประเมิน เพื่อการรับรอง มรท.8001-2546 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The satisfaction of entrepreneurs to TLS 8001-2003 certification audit of Department of Labour Protection and Welfare
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิสา นพทีปกังวาล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --วิทยานิพนธ์
การควบคุมคุณภาพ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มีต่อ ตรวจประเมินเพื่อการรับรอง มรท. 8001 - 2546 ของกรมสวัสดิการและผู้มครองแรงงาน (2) เปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มีต่อการตรวจประเมินเพื่อการรับรอง มรท. 8001 - 2546 ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยทั่วไปของ สถานประกอบกิจการ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มึต่อการตรวจ ประเมินเพื่อการรับรอง มรท. 8001 - 2546 ของกรมสวัสดิการและผู้มครองแรงงาน และเสนอแนะ แนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการตรวจประเมิน การวิจัยครั้งนี้เปีนการวิจัยเชิงสำรวจ กสุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการที่ได้รับการ ตรวจประเมินเพื่อการรับรอง มรท. 8001 -2546 จากกรมสวัสดิการและค้มครองแรงงาน ใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 - 2549 จำนวน 189 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เปีนแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึง- พอใจค่า มีค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิแอลฟาของครอนบาค .976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนใช้ ทดสอบทีและการทดสอบเอฟ่ โดยใช้โปรแกรมคอมพวเตอร์สำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบการมีความพึงพอใจต่อการตรวจประเมินเพื่อการรับรอง มรท. 8001 - 2546 ในระดับมาก (2) การเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ประกอบการที่มีต่อการตรวจ ประเมินเพื่อการรับรองมรท.8001 -2546 พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการและปัจจัยทั่วไปของ สถานประกอบกิจการที่ต่างกัน มีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน (3) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ความพึง พอใจระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการและปัจจัยทั่วไปของสถานประกอบกิจการ พบว่า การถือหุ้นที่มีเฉพาะคนไทยกับมีคนไทยและคนสัญชาติอื่น มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจต่อการ ตรวจประเมินเพื่อการรับรอง มรท. 8001 - 2546 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3587
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
101849.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons