กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3604
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดระนอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development guidelines of the farm women groups operations in Ranong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุพัฒนา บุญแก้ว, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--ระนอง
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 2) การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 3) ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร และ 5) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จังหวัดระนอง การดำเนินงานวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำนวน 1,034 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane ที่ค่าความคลาดเคลื่อน 0.08 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 136 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณา และ 2) นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในจังหวัดระนอง จำนวน 21 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 7 คน ใช้แบบสนทนากลุ่มในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 50.20 ปี จบชั้นประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.26 คน มีระยะเวลาการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 6.28 ปี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน มีแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.74 คน 2) การดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในภาพรวมมีการดำเนินงานในระดับมาก โดยดำเนินงานมากที่สุด 3 ประเด็น ได้แก่ ด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถของสมาชิกและองค์กร ด้านการจัดการสินค้าหรือบริการ และด้านการให้ความสำคัญกับชุมชน 3) ความคิดเห็นต่อการดำเนินงานตามบทบาทของคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ในภาพรวมมีการดำเนินงานตามบทบาทในระดับมาก โดยประเด็นหลักที่คณะกรรมการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีการดำเนินงานมากที่สุด 3 ประเด็น ได้แก่ บทบาทแกนนำกลุ่ม บทบาทผู้บริหารการเงิน และบทบาทผู้ติดตามและประเมินผล และประเด็นหลัก ที่สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีการดำเนินงานมากที่สุด 3 ประเด็น ได้แก่ บทบาทผู้เข้าร่วมประชุม บทบาทผู้สนับสนุน และบทบาทผู้ถ่ายทอดความรู้ 4) ปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร พบว่า ในภาพรวมสมาชิกกลุ่มมีปัญหาในการดำเนินงานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในระดับน้อย โดยประเด็นหลักที่มีปัญหามากที่สุด 3 ประเด็นได้แก่ ด้านการบริหารทุนและทรัพยากร ด้านการพัฒนาความรู้ความสามารถของสมาชิกและองค์กร และด้านการให้ความสาคัญกับชุมชน 5) แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจังหวัดระนองได้แก่ การส่งเสริมกระบวนการกลุ่ม การหาแหล่งทุนเพื่อพัฒนาให้กลุ่มมีผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน รวมถึงการหาช่องทางการตลาดโดยการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อการพัฒนาอย่างรอบด้าน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3604
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.28 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons