Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/360
Title: | การจัดการสารสนเทศผ้าย้อมครามในประเทศไทย |
Other Titles: | Indigo fabric information management in Thailand |
Authors: | น้ำทิพย์ วิภาวิน ภาวิณี แสนชนม์, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ฉันทนา เวชโอสถศักดา พธู คูศรีพิทักษ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ ผ้าย้อมคราม ระบบสารสนเทศ--การจัดการ วิสาหกิจชุมชน--ไทย |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการจัดการสารสนเทศผ้าย้อมครามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ้าย้อมครามและแหล่งบริการสารสนเทศผ้าย้อมครามในประเทศไทย (2) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการจัดการสารสนเทศผ้าย้อมครามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าย้อมครามและแหล่งบริการสารสนเทศผ้าย้อมครามในประเทศไทย และ (3) พัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการสารสนเทศผ้าย้อมครามของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ผ้าย้อมครามและแหล่งบริการสารสนเทศผ้าย้อมครามในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจํานวน 54 คน คัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์ ที่กําหนดจากผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในแหล่งที่มีการจัดการสารสนเทศผ้าย้อมคราม 17 แห่ง ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าย้อมคราม 12 แห่ง จํานวน 39 คน และแหล่งบริการสารสนเทศผ้าย้อมคราม 5 แห่ง จํานวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการสารสนเทศผ้าย้อมครามในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นการจัดการสารสนเทศระดับบุคคลที่เน้นความสามารถของผู้นํากลุ่มวิสาหกิจชุมชนและหัวหน้าแหล่งบริการ สารสนเทศผ้าย้อมคราม มีการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามโดยใช้วัสดุจริงตามนโยบายการยกระดับ ผลิตภัณฑ์ชุมชน และมีกระบวนการจัดการสารสนเทศที่ประกอบด้วย การรวบรวมลวดลายผ้าย้อมคราม จากการถอดบทเรียน การจัดหมวดหมู่วัสดุจริงตามกระบวนการผลิตผ้าย้อมคราม การเผยแพร่สารสนเทศ ผ้าย้อมครามผ่านเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ 2) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการจัดการสารสนเทศผ้าย้อมครามในประเทศไทย ได้แก่ ทักษะการรู้สารสนเทศของผู้นํากลุ่มวิสาหกิจชุมชน ความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน ในการยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าย้อมครามตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การสนับสนุนด้านงบประมาณและการ รวมตัวของเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง 3) การพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการสารสนเทศผ้าย้อมครามในประเทศไทยเป็นรูปแบบ Indigo WORK-NET ประกอบด้วย การจัดการสารสนเทศแบบกลุ่ม (Information Management by WORKgroup) ที่เน้นการทํางานร่วมกันของเครือข่ายผู้นํากลุ่มวิสาหกิจชุมชน (Community NETwork) และแหล่งบริการสารสนเทศท้องถิ่นมีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน การบริหารข้อมูล เปิดเพื่อการเข้าถึงได้ง่าย และมีกระบวนการจัดการสารสนเทศผ้าย้อมคราม ที่เริ่มจากการถอดบทเรียนจากผู้รู้การจัดหมวดหมู่เนื้อหาตามกระบวนการผลิต การจัดเก็บและสงวนรักษาในคลังสารสนเทศดิจิทัล การจัดทําคู่มือ การผลิตและจัดจําหน่าย และการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์และแหล่งบริการสารสนเทศผ้าย้อมคราม |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/360 |
Appears in Collections: | Arts-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159471.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 39.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License