Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3613
Title: | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการตัดสินใจเลือกผู้รับบำบัดและกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมของโรงงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง |
Other Titles: | Factors related to selection decisions of industrial waste disposal processors of factories in industrial estates Rayong Province |
Authors: | สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์ ชัยพฤกษ์ ทองเปี่ยม, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศริศักดิ์ สุนทรไชย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม--วิทยานิพนธ์ การกำจัดของเสีย--ไทย--ระยอง |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจสถานการณ์โรงงานผู้ก่อกำเนิดกากของเสียอุตสาหกรรมของโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดระยอง (2) ระบุปัจจัยที่ผู้ก่อกำเนิดกากของเสียอุตสาหกรรมใช้ในการเลือกผู้รับบำบัดและกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม และ (3) สำรวจปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ก่อกำเนิดกากของเสียอุตสาหกรรมที่มีต่อผู้รับบำบัดและกำจัดกากอุตสาหกรรม โดยกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้จัดการโรงงานผู้ก่อกำเนิดกากของเสียอุตสาหกรรมจำนวน 150 โรงงาน จากจำนวนประชากรของโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดระยองทั้งหมดจำนวน 1,497 โรงงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.775 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) โรงงานส่วนใหญ่มีอัตราการเกิดกากของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย มีปริมาณอยู่ในช่วง 100-500 ตันต่อปี และอัตราการเกิดกากของเสียอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตรายส่วนใหญ่ มีปริมาณมากกว่า 500 ตันต่อปี ค่าบริการบำบัดกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรมควรมีราคาอยู่ในช่วง 1,000 -3,000 บาท สำหรับกากของเสียอุตสาหกรรมที่เป็นอันตราย และ 500-1,000 บาทสำหรับกากของเสียอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นอันตราย ระยะทางที่เหมาะสมระหว่างโรงงานของผู้ก่อกำเนิดกับโรงงานผู้รับบำบัดกำจัด ควรมีระยะทางอยู่ในช่วง 51 ถึง 100 กิโลเมตร (2) ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่โรงงานผู้ก่อกำเนิดกากของเสียอุตสาหกรรมใช้ในการพิจารณาเลือกใช้บริการเป็นเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดของผู้รับบำบัดและกำจัดกากของเสียอุตสาหกรรม และ (3) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพึงพอใจมากที่สุดสามลำดับแรก ได้แก่ 1) โรงงานผู้รับบำบัด/กำจัดฯ มีรถขนส่งกากของเสียที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและกฎหมาย 2) โรงงานผู้รับบำบัด/กำจัดฯ มีการรับรองระบบมาตรฐานการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และ 3) โรงงานผู้รับบำบัด/กำจัดฯ มีระบบการจัดการ หรือปริมาณพื้นที่หลุมฝังกลบเพียงพอในการรองรับกากอุตสาหกรรม ตามลำดับ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3613 |
Appears in Collections: | Health-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License