กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3640
ชื่อเรื่อง: ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Innovative leadership of school administrators affecting the development of learning management innovation of teachers in schools under the Secondary educational Service Area Office Nakhon Si Thammarat
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศจี จิระโร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภูริชญา เผือกพรหม, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา --วิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา และ 4) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ผลวิจัยปรากฏว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้ การมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม การคิดสร้างสรรค์การสร้างบรรยากาศเชิงนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการสร้างเครือข่ายนวัตกรรม 2) การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ ดังนี้ นวัตกรรมการพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมการพัฒนาสื่อในการจัดการเรียนรู้นวัตกรรมการพัฒนาหลักสูตร นวัตกรรมการประเมินผลการจัดการเรียนรู้และนวัตกรรมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 3) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงกับการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาได้แก่ การมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม การคิดสร้างสรรค์และการสร้างบรรยากาศเชิงนวัตกรรม ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูได้ร้อยละ 44 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (บริหารการศึกษา)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/3640
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม28.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons